บทบาทของกำนันผู้ใหญ่บ้านกับการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาท้องที่ ตำบลลุ่มลาชี อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • เสาวนีย์ จันทสังข์ สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • โชติกา สิงหาเทพ สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ธนิกานต์ ศรีจันทร์ สาขาวิชาบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • อินทุราภรณ์ มงคลขจรกิตติ สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การพัฒนาท้องที่, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, บทบาท, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและแนวทางการพัฒนาท้องที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาท้องที่ ตำบลลุ่มลาชี อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 11 คน คือ กำนันตำบลลุ่มลำชี 1 คน และ ผู้ใหญ่บ้าน 10 คน การเก็บข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างในการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาตามข้อคำถามแบบสัมภาษณ์ในรูปแบบเชิงพรรณนาเพื่อประกอบการนำเสนอผลการวิจัย

ผลการศึกษาพบว่า บทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาท้องที่ ได้แก่ (1) การกำหนดนโยบาย โครงการ กิจกรรม (2) การให้ความรู้เกี่ยวกับการนาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน (3) การสนับสนุน ส่งเสริมให้มีเครือข่ายชุมชน (4) การเป็นแบบอย่างที่ดี และ (5) การส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แนวทางการพัฒนาท้องที่ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นั้น พบว่า กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ควรส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ โดยผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์การปลูกจิตสำนึกประชาชนในการดำเนินชีวิต ในเรื่องการประหยัด อดออม ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน การสร้างอาชีพเสริมในชุมชน การลดต้นทุนภาคการเกษตร สร้างอาหารในชุมชนเอง รวมถึงรู้จักหน้าที่และสร้างความรักสามัคคีในชุมชน

References

ฐพซัย ทตนนท์. (2556). บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลกับการส่งเสริม การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. (การค้นคว้าอิสระพุทธศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย).

ธัญญารัตน์ นันติกา. (2551) .บทบาทของผู้นาชุมชนต่อโครงการ ตามแนวคิดเศรษฐกิจ พอเพียงของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านป่าไผ่ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุศริน เถาวัลย์. (2555). บทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ทางการเมืองในจังหวัดปัตตานี. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประสิทธิ์ อินทโชติ. (2554). บทบาทของผู้ใหญ่บ้านในการดำเนินงานตามนโยบาย รัฐบาลด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในจังหวัดชลบุรี. (สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน.ฃ วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา).

พระมหาพุฒิสรรค ปาวชิโร . (2556). บทบาทกำนันผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริม การดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

สมนึก คำใจหนัก. (2552). ภาวะผู้นำของกำนันและผู้ใหญ่บ้านอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ต่อการเสริมสร้างเศรษฐกิจพอเพียง. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ส่วนบริหารงานกำนันผู้ใหญ่บ้าน สำนักบริหารการปกครองท้องที่. (2555). คู่มือปฏิบัติงานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน ส่วนบริหารงานกำนันผู้ใหญ่บ้าน สำนักบริหารการปกครองท้องที่. พระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่พระพุทธศักราช (2547) แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย.

สุภัทรา บุญปัญญโรจน์. (2550). ภาวะบริโภคนิยมของวัยรุ่นไทย. ปัจจัยผลักดันสู่ สังคมไทย. วารสารรามคำแหงฉบับมนุษยศาสตร์, 27(1), 1-2.

สุวรรณ์ มาลี. (2551). การปฏิบัติงานของกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามบทบาทหน้าที่ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555–2559). สำนักนายกรัฐมนตรี.

อารีย์ เชื้อเมืองพาน. ( 2551). วิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง:ทางรอดพ้นกับดัก ทางเศรษฐกิจและสังคม. วารสารแม่โจ้ปริทัศน์. 9(6).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-01