ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาระหนี้สินของชาวนา เทศบาลตำบลเขาพระ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

อภินันท์ ฉิมย้อย
มยุรี รัตนเสริมพงศ์
วาสิตา เกิดผล ประสพศักดิ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการเกิดภาระหนี้สินของชาวนา 2) ศึกษาการเกิดภาระหนี้สินของชาวนา และ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาระหนี้สินของชาวนา เทศบาลตำบลเขาพระ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชาวนา ที่อาศัยอยู่ ในชุมชน หมู่ที่ 1 - 9 เทศบาลตำบลเขาพระ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 302 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์
         ผลการวิจัยพบว่า
         1. ปัจจัยการเกิดภาระหนี้สินของชาวนา เทศบาลตำบลเขาพระ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ นโยบายรัฐ ความสามารถในการปรับตัว ความสามารถในการบริหารจัดการ ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ และโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ตามลำดับ
          2. ชาวนาผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีภาระหนี้สินเป็นจำนวนเงิน 30,001 - 50,000 บาท โดยเฉลี่ย และส่วนใหญ่มีภาระหนี้สินกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และวัตถุประสงค์การกู้ยืมเงินคือใช้ลงทุนประกอบอาชีพ ในขณะที่ระยะเวลาการผ่อนชำระคืน คือ 2 - 5 ปี
          3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาระหนี้สินของชาวนา เทศบาลตำบลเขาพระ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ปัจจัยทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ นโยบายรัฐ ความสามารถในการปรับตัวความสามารถในการบริหารจัดการ ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ และโครงสร้างทางเศรษฐกิจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชญานี ชวะโนทย์. (2562). พฤติกรรมและสถานการณ์ทางการเงินของครัวเรือนที่ปัญหาหนี้สิน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เทศตำบลเขาพระ. (2559). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2560-2564). ออนไลน์. สืบค้น 1 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.khaophra.go.th/index.php

ธัญญพัทธ์ วัฒนจิรพันธุ์. (2564). แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามแนวคิดเศรษฐกิจ พอเพียงของกลุ่มเกษตรกรตำบลไร่หลักทอง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6 (6), 298 – 312.

นันทา กันตรี และ ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์. (2562). ข้อสังเกตการปรับตัวของชาวนาผู้เช่านา กรณีศึกษาชาวนาผู้เช่านา อ.ผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การเกษตร. ออนไลน์. สืบค้น 31 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา: http://www.cusri.chula.ac.th/wp-content/uploads/2020/02/การปรับตัวของชาวนาผู้เช่านา.pdf

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2558). โครงการศึกษาภาวะหนี้สินเกษตรกรและแนวทางการปรับปรุงศักยภาพการดำเนินงานกองทุนในกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

วรรณภา วงค์สวรรค์. (2559). แนวทางการแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินสะสมของเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรตำบลไทยชนะศึก อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย. การประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติด้าน “การวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ครั้งที่ 4 พ.ศ.2559

ศิรินภา โภคาพานิชย์ และ สัญญา เคณาภูมิ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาระหนี้สินของเกษตรกรอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 5 (พิเศษ), 192 -201.

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. (2563). ครัวเรือนเกษตรไทยในวิกฤติโควิด-19. ออนไลน์. สืบค้น 10 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.pier.or.th/abridged/2020/11/

สำนักงานเกษตรกรอำเภอเดิมบางนางบวช. (2561) ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปด้านการเกษตร ระดับอำเภอ/ตำบล. ออนไลน์. สืบค้น 31 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา: http://doembangnangbuat.suphanburi. doae.go.th/dataproduct1.html

สำนักงานเกษตรอำเภอเดิมบางนางบวช. (2564). ข้อมูลการขึ้นทะเบียนหนี้สินของเกษตรกรในพื้นที่บริการสำนักงานเกษตรอำเภอเดิมบางนางบวช. ออนไลน์. สืบค้น 10 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: http://doembangnangbuat.suphanburi.doae.go.th/

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายได้ รายจ่ายการออม หนี้สิน ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจก่อหนี้และความต้องการกู้ของครัวเรือนเกษตร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.. (2560). สถานการณ์ภาวะหนี้สินครัวเรือนเกษตรในปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). หนี้สินของครัวเรือนเกษตร พ.ศ. 2562. กลุ่มงานวิเคราะห์และพยากรณ์สถิติเชิงเศรษฐกิจ. สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สุกานดา กลิ่นขจร และนรรัฐ รื่นกวี. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาระหนี้สินของเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา กรณีศึกษาอำเภอด่านขุนทด และอำเภอโนนสูง. นครราชสีมา: ศูนย์กลางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

สุริยะ หาญพิชัย และ เฉลิมพล จตุพร และ วสุ สุวรรณวิหค. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อหนี้สินครัวเรือนเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี. Journal of Modern Learning Development. 5 (5), 309 – 320.

Suchanan Tambunlertchai. (2004). The Government's Helping Hand: A Study of Thailand's Agricultural Debt Moratorium. Harvard University.

The Momentum. (2019). ตะกอนในแม่น้ำสำคัญอย่างไร ทำไมน้ำสีฟ้าใสจึงหมายถึงไร้ชีวิต. ออนไลน์. สืบค้น 1 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: https://themomentum.co/hungry-water