8 การตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดความสามารถด้านความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Main Article Content

อติราช เกิดทอง
ภูวดล บัวบางพลู
ธีรพงษ์ จันเปรียง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดความสามารถด้านความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 360 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถด้านความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 7 องค์ประกอบ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.31 – 0.85 และค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.73-0.83  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า โมเดลการวัดความสามารถด้านความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มีคุณภาพด้านความตรง โดยผ่านการพิจารณาจาก 1) ความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดล ซึ่งค่า p-value มากกว่า .05 และดัชนีวัดความกลมกลืนทุกค่าผ่านเกณฑ์การประเมิน และ 2) ผลการวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่าน้ำหนักองค์ประกอบมีค่าอยู่ในช่วง 0.58-0.93 ความเที่ยงเชิงโครงสร้างมีค่าอยู่ในช่วง 0.67-0.94 ความแปรปรวนที่สกัดได้ มีค่าอยู่ในช่วง 0.50-0.84 และความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบมีความตรงเชิงจำแนก

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

อติราช เกิดทอง, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

หัวหน้าภาคทดสอบและวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

References

Harris, R. J. (2014). Multivariate Data Analysis. England: Pearson Education.

Juncha, S. (2021). A Development of Learning Activities Based on the Flipped Classroom Using Google Classroom to Promote Digital literacy and Academic Achievement for the First year Vocational Certificate Student. Vocational Education Innovation and Research Journal, 5(1), 148-158.

Kerdthong, A. (2019). Research for Learning Development. Chanthaburi : Rambhai Barni Rajabhat University.

NG, W. (2015). New Digital Technology in Education : Conceptualizing Professional Learning for Educators. New York: Spinger.

Office of the Civil Service Commission. (2019). Guidelines for the Development of Government Personnel. Bangkok: Office of the Civil Service Commission.

Papattha, C. et al. (2021). The Confirmatory Factor Analysis of Digital Competency for Vocational Teachers to Support Thailand 4.0 Policy. Journal for Research and Innovation, 4(2), 72-107.

Suwaphong, P. (2016). An Exploratory Factor Analysis of Learning Management Competency of Teachers under Roi Et Provincial Non-Formal and Informal Education Center. [Master of Educational Administration]. Roi Et Rajabhat University.

Techataweewab, W., & Prasertsin, U. (2016). Digital Literacy Assessment of the Undergraduate Students to the Universities in Bangkok and ITS Vicinity. Journal of Information Science, 34(4), 1-28.

Yooyen, P. (2020). Digital Literacy Development For Teachers at Ban Huay Phai School, Chai Prakarn District, Chiang Mai Province. [Master of Educational Administration]. Chai Mai University.