6 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับการดำเนินงานตามตัวชี้วัดการประเมินแบบสมดุลของสถานศึกษาในเครือข่ายพัฒนาการศึกษาวังทอง 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2

Main Article Content

THAMONWAN KHAMJRING
NONGLUCK JAICHALAD

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับดำเนินงานตามตัวชี้วัดการประเมินแบบสมดุลของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา 12 คน ครู 85 คน รวมทั้งหมด 97 คน ในสถานศึกษาเครือข่ายพัฒนาการศึกษาวังทอง 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มี 68 –ข้อ แบ่งเป็น 3 ตอน เก็บข้อมูลโดยใช้มาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


               ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับดำเนินงานตามการประเมินแบบสมดุลของสถานศึกษาในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวก ในระดับสูง (r = .856) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัย พบว่า มีความสัมพันธ์กันในทางบวก ทั้ง 6 ปัจจัย มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .638 ถึง .843 โดยปัจจัยที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงสุด คือ ปัจจัยด้านแรงจูงใจ (r = .843) และปัจจัยที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ต่ำสุด คือ ปัจจัยด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กร (r = .638)

Article Details

บท
Research Articles

References

เครือข่ายพัฒนาการศึกษาวังทอง 4. (2564). แผนปฏิบัติราชการประจำปีของโรงเรียนในเครือข่ายวังทอง 4. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2, เครือข่ายพัฒนาการศึกษาวังทอง 4.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2562). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 14). อมรการพิมพ์.

ณัฐดนัย วงษาเนาว์. (2564). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยการศึกษาเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

ปิยะ โกฏแสน. (2561). การพัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษาโดยใช้ Balanced Scorecard ของโรงเรียนใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2), 132 – 142.

พสุ เดชะรินทร์. (2553). การวางแผนและกําหนดยุทธศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มุทิตา สมศรี และทินกร พูลพุฒ. (2561). ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(2), 234–242.

วิโรจน์ สารรัตนะ (2555). การบริหาร : หลักการ ทฤษฎี และประเด็นทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). ทิพยวิสุทธ์.

ศิริพร เกษวิทย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามตัวชี้วัดการประเมินแบบสมดุลของสถานศึกษาระดับประถมศึกษาจังหวัดปทุมธานี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(2),

–111.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. (2564). ข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา ปีการศึกษา 2564. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). โครงการโรงเรียนในฝันโครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). แผนการศึกษาชาติแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. บริษัท ธนาเพรส.

สุธิดา แก้วโสนด, ธนวิน ทองแพง และ ประยูร อิ่มสวาสดิ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วารสารบัณฑิตศึกษา, 17(77), 124–135.

สุวิมล ติรกานันท์. (2555). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรอุมา ไมยวงค์. (2564). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท,

มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

Kaplan, R.S. and D.P. Norton. (1996). The Balance Scorecard : Translating Strategy into Action. Boston : Harvard Business School Pres.

_______. (2004). Strategy Maps : Converting Intangible Assets into Tangible Outcomes. Harvard Business School Press.

Maslow, A. (1970). Human needs theory: Maslow’s hierarchy of human needs. In R.F. Craven & C. J. Hirnle (Eds.), Fundamental of Nursing: Human Health and Function (3rd ed.). Lippincott.