9 การพัฒนานวัตกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านชุดกิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหาร ของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก

Main Article Content

สุชานาฏ ไชยวรรณะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนานวัตกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านชุดกิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก 2) ศึกษาผลการใช้นวัตกรรมก่อนและหลังการใช้นวัตกรรม 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูที่ใช้นวัตกรรม วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 สร้างและพัฒนานวัตกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านชุดกิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก ตอนที่ 2 การทดลองใช้นวัตกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กปฐมวัยและครูปฐมวัยโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi- stage Sampling) จำนวน เด็กปฐมวัย 318  คน และครู 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย โดยการใช้นวัตกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านชุดกิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติในโรงเรียนขนาดเล็ก 2) แบบประเมินระดับทักษะการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัย 3) แบบประเมินความ
พึงพอใจของครูในการใช้นวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน (t-test Dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสร้างและพัฒนานวัตกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านชุดกิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก ไปตามเกณฑ์ 80/80 ได้ผลคือ E1 มีค่าเท่ากับ 87.56 และ E2 มีค่าเท่ากับ 86.03 2) เด็กปฐมวัยมีทักษะการคิดเชิงบริหาร หลังการใช้นวัตกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านชุดกิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติสูงกว่าก่อนการใช้นวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ความพึงพอใจของครูที่ใช้นวัตกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านชุดกิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็กอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล และคณะ. (2560). การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการ คิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล และสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุภาวดี หาญเมธี. (2559). พัฒนาทักษะสมอง EF ด้วยการอ่าน. กรุงเทพฯ: บริษัท ไอดี ออล ดิจิทัลพริ้นท์จำกัด (สำนักงานใหญ่).

อรทัย บุญเที่ยง. (2562). ผลการศึกษาการบูรณาการจัดการเรียนรู้ทักษะทางสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (Executive Function: EF) ของครูผู้ดูแลเด็กเล็กในเขตพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

Center on the Developing Child. (2015). Activities Guide: Enhancing and Practicing Executive Function Skills with Children from Infancy to Adolescence. Retrieve from https://developingchild.harvard.edu.

John Dewey. (1969). Philosophy Education, and Reflective Thinking. In Thomas O. BufordProcesses. Cambridge, MA: Harvard University Press.

Dawson, P., & Guare, R. (2014). Interventions to promote executive development in children and adolescents. In Handbook of executive functioning. Springer, NY. 427-443.

Vygotsky, L.S. (1978). Mind in Society: The Development of Higher PsychologicalToward a Philosophy of Education. New York: The Macmillan Company