รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา ในเขตภาคเหนือตอนล่าง Learning Management Model for Developing Analytical Thinking Skills of High School Students in Lower Northern Thailand
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และการวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อสร้างรูปแบบ และประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา ในเขตภาคเหนือตอนล่าง การวิจัยมี 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพ ปัญหา และศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการเรียนรู้ โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ(Exploratory Factor Analysis) ใช้เกณฑ์การคัดเลือกในแต่ละองค์ประกอบต้องมีตัวแปรตั้งแต่ 3 ตัวแปรขึ้นไป มีค่าน้ำหนักแต่ละตัวแปร ตั้งแต่ 0.3 ขึ้นไป และค่าไอเกน ตั้งแต่ 1 ขึ้นไป ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นคือ 1) ยกร่างรูปแบบ โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน 2) ตรวจสอบร่างรูปแบบ โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน ตรวจสอบความถูกต้อง และความเหมาะสมของรูปแบบ เกณฑ์การตัดสินความถูกต้องและเหมาะสม ต้องมีค่าตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป และมีค่า S.D. น้อยกว่า 1.00 3) ปรับปรุงร่างรูปแบบ โดยนำผลการประเมินและผลสรุปจากข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญมาใช้ในการปรับปรุง และประเมินรูปแบบ โดยประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 30 คน เกณฑ์การตัดสินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ ต้องมีค่าตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป และมีค่า S.D.น้อยกว่า 1.00
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารจัดการเรียนรู้ ทุกด้านในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และปัญหาการบริหารจัดการเรียนรู้ ทุกด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบ ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ดำเนินงานเป็นระบบ 2) การพัฒนาบุคลากร 3) การวิเคราะห์สภาพองค์กร (SWOT Analysis) 4) การมีส่วนร่วม 5) โครงสร้างบริหารงาน 6) การส่งเสริมสนับสนุน 7) การกำหนดเป้าหมาย 8) การสื่อสาร และ 9) การวัดและประเมินผล 2. รูปแบบ ประกอบด้วย 1) การวางแผน 2) ระบวนการพัฒนา 3) ผลผลิต ได้แก่ 3.1) ครูมีการจัดการเรียนรู้แบบคิดวิเคราะห์ทุกเนื้อหา ทุกระดับชั้น 3.2) ครูมีการฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ให้แก่ผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง 3.3) นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ 4) การตรวจสอบ และผลการประเมินรูปแบบ มีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก และเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). รายงานการสังเคราะห์แนวคิดและวิธีจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิด วิเคราะห์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). แนวทางการดําเนินงานปฏิรูปการเรียนการสอน ตามเจตนารมณ์กระทรวงศึกษาธิการ“2549 ปีแห่งการปฏิรูปการเรียนการสอน”. กรุงเทพฯ: สํานักวิชาการและมาตรฐาน.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชูชีพ อรัญวงศ์. (2551). การศึกษารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนระหานวิทยา. กำแพงเพชร:โรงเรียนระหานวิทยา. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2538). ความสัมพนธ์โครงสร้างเชิงเส้น (LISREL). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุษบา สุธีธร. (2540). หลัการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
พรศักดิ์ สุจริตรักษ์. (2551). การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียน. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยุทธ ไกรวรรณ์. ( 2551). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสม . พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
มธุรดา ศรีรัตน์. (2554). การบริหารแบบมีส่วนร่วม . สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2560, จาก www.gotoknow.org.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2545). การบริหาร หลักการ ทฤษฎี ประเด็นทางการศึกษา และบทวิเคราะองค์การทางการศึกษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์.
วิยะดา ตันวัฒนากูล. (2546). SPSS/FW การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน และนอนพาราเมทริกซ์. ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
แววศิริ วิวัจนสิรินทร. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2560, จาก www.tci-thaijo.org
สิทธิพล อาจอินทร์. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2560, จาก http://beyond.library.tu.ac.th/cdm/ref/collection/trf_or_th/id/18731
สุภมาศ อังศุโชติ และคณะ. (2551). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : มิสชั่น มีเดีย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). การวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยความสำเร็จของสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทานระกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Eisner, E. (1976). “Education Connoisseurship and Criticism: Their Form and Function in Educational Evaluation”. Journal of Aesthetic Educational, Retrieved May 25, 2012.
Herbert, H. G. (1972). The Management of Organization : A Systems and Human Resources Approach. (12 nd ed). New York: Appleton-Century-Crofts.
John, W. Best & James, V. Kahn (2006). Research in education. Boston: Allyn and Bacon.
Keeves P.J. (1988). Educational research, methodology and measurement : An international handbook. Oxford : Pergamon Press.
Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.
Madaus, G. F. ;Scriven, M. S.; &Stufflebeam, D.L. (1983). Evaluation Models Viewpoint son Educational and Human Services Evaluation. 8thed., Boston: Khuwer-NijhoffPublishing.