การประมาณค่าความสามารถการคิดอภิมานจากแบบทดสอบอัตนัยพหุมิติ Estimating of metacognitive abilities from multidimensional subjective test

Main Article Content

พรวิมล ระวันประโคน และคณะ Pornwimon Rawanprakhon and Others

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประมาณค่าความสามารถการคิดอภิมาน จากแบบทดสอบอัตนัยพหุมิติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 1,222 คน จาก 29 โรงเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณ 20 เท่าของพารามิเตอร์ เครื่องมือเป็นแบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอภิมาน ด้วยข้อสอบอัตนัยแบบพหุมิติ จำนวน  9 ข้อ สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirm Factor Analysis) และประมาณค่าโดยใช้โปรแกรม MATLAB


                ผลการวิจัยพบว่า


                ผลการประมาณค่าความสามารถการคิดอภิมาน จากข้อสอบจำนวน 9 ข้อ ประมาณค่าเป็นรายข้อจำแนกตามระดับคะแนนที่ได้แต่ละข้อ จำนวน 5 ระดับ คือ0, 1, 2, 3 และ 4 ซึ่งในแต่ละระดับขั้นของคะแนน จะให้ค่าความสามารถประจำขั้นที่แตกต่างกัน โดยจะรวมค่าความสามารถประจำขั้นในแต่ละมิติ แล้วเทียบค่าความสามารถเฉลี่ยกับเกณฑ์การแปลความหมาย ซึ่งเกณฑ์การแปลความหมาย สร้างจากหลักการของการประมาณค่าความยากเป็นรายลำดับขั้นการตอบ (Threshold) ของแต่ละข้อคำถาม แล้วคำนวณหาค่าความยากเฉลี่ยของแต่ละข้อ เพื่อเป็นการกำหนดจุดตัด และจำแนกระดับความสามารถของนักเรียนออกเป็นแต่ละระดับ การวิจัยครั้งนี้คำนวณจุดตัดได้ 4 จุดตัดในทุกมิติ จึงแบ่งความสามารถของนักเรียนออกได้ 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับที่ 1 ถึงระดับที่ 5 แล้วนำไปสร้างเกณฑ์การแปลความหมาย โดยให้สอดคล้องกับนิยามของความสามารถแต่ละด้าน

Article Details

บท
Dissertations

References

ชัยวิชิต เชียรชนะ. (2552, ตุลาคม-ธันวาคม). การวิเคราะห์พหุมิติ. วารสารการศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 32(4): 13-21.

พัชรี จันทร์เพ็ง. (2561). การประยุกต์ทฤษฏีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติเพื่อการวิจัย. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เมษา นวลศรี. (2559). การพัฒนาและตรวจสอบโครงสร้างพหุมิติของความเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น: การประยุกต์ใช้แนวคิดการสร้างแผนที่โครงสร้าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การวัดและประเมินผลการจัดการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วนิดา หอมจันทร์. (2558). การพัฒนากระบวนการประมาณค่าคุณลักษณะพหุมิติจำแนกตามสเกลรายการคำตอบ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). ทฤษฏีการทดสอบแนวใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_______. (2558). ข้อสอบอัตนัย: การสร้าง การวิเคราะห์ และการตรวจอย่างเป็นปรนัย (Constructed–Response Test Question: How to Construct, Analyze, and Score Item), สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย. กันยายน-ธันวาคม, 2(3): 16-27.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2559). คู่มือการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนและศึกษานิเทศก์ ในการสร้างเครื่องมือวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเขียนตอบตามแนวการทดสอบระดับนานาชาติ. (Essay test based on International Testing ). (ฉบับปรับปรุง 2559). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

Brown, A.L. and S.S Smiley. (1977, March). Rating the Importance of Structural Units of Prose Passages: A Problem of Metacognitive Development. Child Development. 48(1): 1-8.

Brown, H.D. (1987). Principles of Language Learning and Teaching. New Jersey: Prentice Hall.

Chase G., William, and Ericsson K. Anders. (1982). Skill and Working Memory. Psychology of Learning and Motivation, 16: 1-58.

Frey, A. and N.N. Seitz. (2009). Multidimensional Adaptive Testing in Educational and Psychological Measurement: Current State and Future Challenges. Studies in Educational Evaluation, 35(2), 89-94.

Hartman, H. J. (1998). Metacognition in teaching and learning: An Introduction. Instructional Science, 26(1-2): 1-3.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate data analysis. (7th ed.). Prentice Hall.

Lee, M. and A.L. Baylor. (2006). Designing Metacognitive Maps for Web-Based Learning. Educational Technology and Society, 9(1): 344-348.

Marzano, R.J. (1988). Metacognition: The First step in Teaching Thinking. New Jersey: Silver Burdett and Ginn.

Schraw, G. and R.S. Dennison. (1994). Assessing Metacognitive Awareness. Contemporary Educational Psychology, 19(4): 460-475.

Schoenfeld, A. (1987). Cognitive Science and Mathematics Education. New Jersey: Erlbaum Assoc.

Weinert, C. (1987). A Social Support Measure: PRQ85. Nursing Research, 36(5): 273-277.

Yang, C. (2009). A Study of Metacognitive Strategies Employed by English Listeners in an EFL Setting. International Education Studies, 2(4): 134-139.