การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเลื่อนและไม่ได้เลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษของข้าราชการครู
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์จำแนกประเภทปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเลื่อนและไม่ได้เลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการครู สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ที่ขอเลื่อน เป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 604คนได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเลื่อนและไม'ได้เลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษของข้าราชการครู 6 ด้าน คือวินัย คุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ คุณภาพในการปฏิบัติงาน ความสามารถของตนเอง ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยคํ้าจุนและเจตคติ ซํ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อเท่ากับ 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์จำแนก ประเภทแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทั้งหมดสามารถจำแนกประเภทกลุ่มการเลื่อนและไม'ได้เลื่อนเป็นวิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษของข้าราชการครู ส่วนสมการจำแนกปัจจัยสามารถจำแนกกลุ่มที่เลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญ การพิเศษได้ถูกต้อง ร้อยละ 76.4 และจำแนกกลุ่มที่ไม'ได้เลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษได้ถูกต้อง ร้อยละ 80.2 เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วปัจจัยทั้งหมดสามารถจำแนกทั้งสองกลุ่มได้ถูกต้อง ร้อยละ 78.5 ส่วน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับการเลื่อนและไม'ได้เลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ คือ เจตคติต่อการ ทำวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ รองลงมาคือ ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยคํ้าจุน ความสามารถของตนเอง และวินัย คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ส่วนคุณภาพปฏิบัติงานเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้าม
ABSTRACT
The purposes of this study was to conduct discriminant analysis of factors related to professional teachers promotion and non- promotion. The sample consisted of 604 obtained by stratified random sampling. The instruments were questionnaires concerned with moral and professional ethics, performance quality, self ability, motivational factors, maintenance factors and attitude, with item discrimination power ranged from 0.8 -1.00 and reliability at .98. Data were analyzing by mean, standard deviations and stepwise discriminant analysis.
The results show that all factors discriminating the two groups of professional teachers promotion and non- promotion. The factors were able to predict correctly 76.4 percent of promotion group and 80.2 percent of non- promotion group. Also they were able to predict correctly 78.5 percent of both groups. Factor with the highest same direction relationship was attitude. The next were motivational factor, maintenance factor, ability and ethic, respectively. There was remarkable that the performance quality or instruction quality was the opposite direction relationship with the professional teachers promotion.