การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว วิถีชุมชนบ้านคลองคาง จังหวัดนครสวรรค์ The Development of the Training Curriculum for Young Local Guides to Encourage Community Tourism in Bann Klong Kang, Nakhonsawan Province

Main Article Content

ธิดากุล บุญรักษา Thidakul Boonraksa
พรพรรณ โพธิสุวรรณ Pornpan Pothisuwan

Abstract

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทและศักยภาพของท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง  2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นบ้านคลองคาง และ 3) ศึกษาประสิทธิภาพและประเมินหลักสูตรฝึกอบรมฯ กลุ่มตัวอย่าง 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านมัคคุเทศก์ ผู้นำชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ตัวแทนกลุ่มอาชีพจำนวน 19 คนเลือกแบบเจาะจง 2)ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เลือกแบบเจาะจง และ 3) ยุวชนท้องถิ่นนักเรียนโรงเรียนวัดคลองคาง จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ 1) การจัดประชุมประชาพิจารณ์ 2) แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์หาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรฯ 3) แบบประเมินคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมฯ การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการทดสอบ t-test


            ผลการวิจัยพบว่า  1) ชุมชนบ้านคลองคางมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว และชุมชนมีความต้องการให้ยุวชนในท้องถิ่นได้รับการพัฒนา ในด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2) หลักสูตรมีเนื้อหาสาระประกอบด้วย 5 ด้าน คือด้านทักษะทางภาษาอังกฤษ ด้านบริบทชุมชน ด้านหลักการมัคคุเทศก์ ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ ด้านการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประสิทธิภาพหลักสูตรประกอบด้วย วัตถุประสงค์ เนื้อหา สื่อและแหล่งเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ 3) การประเมินหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


               The purposes of this research were 1) to study the context and potential of the local sector encouraging community tourism in Bann Klong Kang, 2) to develop the training curriculum for young local guides in Bann Klong Kang, Nakhonsawan province, and 3) to study the efficiency of the training curriculum. The research subjects consisted of 1) 19 community leaders, school administrators, teachers, and representatives of various professional groups in Bann Klong Kang, Nakhonsawan province selected using purposing sampling, 2) 5 experts selected using purposing sampling, and 3) 25 young local guides who were from Wat Klong Kang school selected using simple random sampling. The research instruments were 1) Dialog analysis 2) 5 rating- scale questionnaire and interview form regarding context and potential of the local sector, and 3) an evaluation form for the quality of the training curriculum. Data were analyzed using mean, standard deviation, content analysis, and t-test for dependent samples.             


                The research found that 1) Ban Klong Kang community has tourism potential For the unity and cooperation of the people in the community, they want the youth in their local community to develop English communication ability, 2) the training curriculum for young local guides in Bann Klong Kang, consisted of principles, objectives, content, learning process, media and learning resources, and assessment and evaluation, , and 3) the quality evaluation of the training curriculum, young local guides have higher English communication ability after participating in the training than before participating statistically significant at .05 level

Article Details

Section
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ.โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

จุฑามาส เพ็งโคมา และคณะฯ (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดชุมพร. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 9(1).

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิมพ์ชนก เนยพลับ. (2557). การเรียนภาษาอังกฤษแบบประสบการณ์เพื่อเพิ่มพูนความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1.สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

มณี จำปาแพง และคณะ (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษสำหรับผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวชุมชน ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 10(ฉบับพิเศษ), 66-78.

วิเชียร อินทรสมพันธ์ และคณะ. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวมัคคุเทศก์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1), 155-166.

อนัญญา ชุมแวงวาปี. (2552). การพัฒนาความสามารถการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการ สื่อสารของนักศึกษาช่างอุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 โรงเรียนเทคโนโลยีพิชญบัณฑิต อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยใช้ชุดการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาภาษาอังกฤษ), คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, เลย.

อมรรัตน์ จิรันดร. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์น้อย: กรณีศึกษาตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 2(2), 129-159.

อุดม เชยกีวงศ์. (2545). หลักสูตรท้องถิ่น: ยุทธศาสตร์การปฎิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: กรุงธนพัฒนา.

Kolb, D.A. (1984). Experiential Learning: Experience as the Source of Learning and Development. New Jersey: Prentice-HallInc.

Littlewood, W. (1990). Communicative Language Teaching. London: Cambridge University Press.

Savignon, S. J. (1990). Communicative Competence. Massachusetts: Addision–Wesley.

Taba, H. (1962). Curriculum development theory and practice. New York: Harcourt Brace and Word.

Tyler, R. W. (1949). Basic Principle of Curriculum and Instruction. Chicago: University of Chicago Press.