แนวทางพัฒนาคุณภาพบัณฑิตพัฒนาชุมชนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้ Propose guidelines for the development of the quality of graduates in community development according to the national higher education qualifications standards framework from a university in the southern region

Main Article Content

เดโช แขน้ำแก้ว และคณะ Daycho Khaenamkhaew and Others

Abstract

                บทความครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาคุณภาพบัณฑิตพัฒนาชุมชนศึกษาแบบผสานวิธี โดยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 29 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ และบันทึกการสังเกตกับกลุ่มผู้ใช้บัณฑิต กลุ่มบัณฑิตพัฒนาชุมชนกลุ่มกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษา และกลุ่มผู้ผลิตบัณฑิต  รวมทั้งสิ้น 33 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพบัณฑิตพัฒนาชุมชน 5 ด้าน ได้แก่ คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทักษะ การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ คุณธรรมจริยธรรมอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับมาก ส่วนที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ความรู้อยู่ในระดับมาก  และแนวทางพัฒนาคุณภาพบัณฑิตพัฒนาชุมชน ได้แก่ (1) คุณธรรมจริยธรรม เน้นเป็นผู้นำ อดทน และใช้หลักธรรมประกอบการทำงานให้เป็น “คนดีมีคุณธรรม” (2) ด้านความรู้ เน้นเรียนรู้ในพื้นที่เพื่อเข้าใจวิถีชีวิต วัฒนธรรม และอาชีพเพื่อสร้าง “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” (3) ด้านทักษะทางปัญญา เน้นการคิดวิเคราะห์ และการบูรณาการความรู้ในลักษณะ “คิดเชิงสร้างสรรค์” (4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ เน้นการสื่อสารหลากหลายและเข้าใจง่ายเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในลักษณะ “เชื่อมประสานสัมพันธ์ชุมชน” และ (5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เน้นใช้เครื่องมือที่ทันสมัยในลักษณะ “เทคโนโลยีเพื่องานชุมชน”   


            This article aims to study and propose guidelines for the development of the quality of graduates in community development. By mixed methods; Questionnaires were used to collect data from 29 Graduate users. The data were analyzed using frequency, percentage, mean and standard deviation. Qualitative information from interviews and observation record with 33 key purposing informants; Graduate users, Graduate of community development, Committee for educational quality assessment, and graduate producers. The data were analyzed using descriptive analysis. The findings revealed as follows: The survey results of the quality of graduates in community development; the aspect of ethics and morals, knowledge, cognitive skills, interpersonal skills, and numerical analysis, communication, and information technology skills in all aspects were at a high level. The aspect with the highest mean was the ethics and morals (the high level), next is the numerical analysis, communication and information technology skills (the high level), and the knowledge (the high level). The guidelines for the development of the quality of graduates in community development:  (1) Ethics and morals focus on being a leader, patient, and using the principles to work in “Good and virtuous people.” (2) Knowledge focuses on learning in the area to understand the way of life, culture, and profession to create “Lifelong learning.” (3) Cognitive skills focus on analytical thinking and the integration of knowledge in “Creative thinking.” (4) Interpersonal skills focus on diverse and easy to understand communication to create participation in “Connect with the community.” (5) Numerical analysis, communication, and information technology skills focus on using modern tools in “Technology for community work.”

Article Details

Section
Research Articles

References

กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูในการใช้แฟ้มสะสมงานเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา: การประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนนักปฏิบัติ. วารสารศึกษาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46 (1), 157-170.

คณะกรรมการบริหารสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน. (2560). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน (หลักสูตรปรับปรุง 2560). (เอกสารอัดสำเนา).

ชนัญชิดา จันทร์ตรี และอภิชาติ ศรีประดิษฐ์. (2562). การประเมินหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิศวกรรม การผลิตและอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. Veridian E-Journal,Silpakorn University (ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ), 12(2), 655-671.

ดนัย ปัตตพงศ์. (2558). เอกสารวิชาการด้านศาสตร์การวิจัยและสถิติประยุกต์. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2563, จาก http://it.nation.ac.th/faculty/danai/download/statistics%20talks7.pdf?fbclid=IwAR0MHhon.

นภัสวรรณ บุญประเสริฐ และคณะ. (2562). คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของผู้สำเร็จการศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์. พิฆเนศวร์สาร, 15(2), 115-126.

นภาพร จันทร์ฉาย และคณะ. (2559). การประเมินคุณภาพบัณฑิตระดับปริญญาตรีหลักสูตรอุสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 181-195.

นิกข์นิภา บุญช่วย และสุพรรณิกา สันป่าแก้ว. (2560). ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อคุณภาพบัณฑิตคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. Veridian E-Journal,Silpakorn University (ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ), 10(2), 506-516.

ปวิดา โพธิ์ทอง และคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ และผลการเรียนรู้ของนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF). วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(3), 124-132.

เพชรรัตน์ โล้วิชากรติกุล. (2560). ผู้นำองค์การที่ดี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(3), 85-96.

ภัทราวดี มากมี. (2559). การออกแบบการวิจัยสำหรับการวิจัยแบบผสานวิธี. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(2), 19-31.

ภาดา ไทยทอแสง และจำนง วงษ์ชาชม. (2561). แนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาปริญญาตรี หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 15(70), 182-188.

มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้. (2563). ปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจ. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2563, จาก https://www.nstru.ac.th/en/page/history

เมธาวี แก้วสนิท. (2558). การศึกษาระดับการรับรู้ข่าวสารและช่องทางการสื่อสาร ระหว่างชุมชนและมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 7(2), 21-35.

เยาวเรศ ภักดีจิตร และคณะ. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างหลักสูตรท้องถิ่นและพัฒนาฐานความรู้ลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 7(13), 51-66.

วิภาพร สิทธิสาตร์ และสมาภรณ์ เทียนขาว. (2560). คุณภาพบัณฑิตและอัตลักษณ์บัณฑิต หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช. วารสารพยาบาลศาตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 18(34), 49-61.

วิสุทธิ์ โนจิตต์ และคณะ. (2562). เปรียบเทียบความคาดหวังและคุณภาพบัณฑิตตามการรับรู้ของผู้ใช้บัณฑิต. วารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 8(1), 132-145.

ศศิพินต์ สุขบุญพันธ์ และคณะ. (2561). ทิศทางการผลิตบัณฑิตการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 9(1), 77-91.

สรรเสริญ หุ่นแสน. (2562). ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์สำหรับนักธุรกิจ. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, 1(1), 116-128.

สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน. (2563). โครงการประกันคุณภาพการศึกษาของสาขาวิชาพัฒนาชุมชน ประจำปี 2562. (เอกสารอัดสำเนา).

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2563). รายงานจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนและสถานะนักศึกษา. (เอกสารอัดสำเนา).

สุชญา สังข์จรูญ, ชญาพิมพ์ อุสาโห และพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2563). กลยุทธ์การบริหารการผลิตบัณฑิตตามแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน. วารสารศึกษาศาสตร์, 48(1), 332-352.

สุทธิพร บุญมาก. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. สงขลา : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน. (2563). โครงการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปี 2562. (เอกสารอัดสำเนา).

Ritchie, J. and Lewis, J. (2003). Qualitative Research Practice. London : Sage.