การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ด้วยวิธีสแกฟโฟลด์ เพื่อส่งเสริมความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี The Development of Learning Management Model Based on the Constructivist Approach Using the Scaffold Method for Enhancing Creative Writing Skills to Undergraduate Students

Main Article Content

ศศิพงษ์ ศรีสวัสดิ์ และคณะ Sasipong Srisawat and Others

Abstract

               การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ด้วยวิธีสแกฟโฟลด์ เพื่อส่งเสริมความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ดำเนินการใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1พัฒนาคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามเกณฑ์ 70/70 ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์


                ผลการวิจัยพบว่า   1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก   2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพของกระบวนการมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 77.35 และประสิทธิภาพของผลผลิตมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 76.97 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 70/70   3. ความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์ก่อนและหลังเรียน พบว่าคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


             The purposes of the research were: 1) to develop learning management model based on the constructivist approach using the scaffold method, and 2) to enhance creative writing skills to undergraduate students. This research was implemented with research and development approach which divided into 3 steps as follows;


                First step: improve the quality of the learning management model Second step: develop the effectiveness of the learning management model according to criteria 70/70. Third step: test of creative writing skills before and after learning with a learning management model. The sample group was undergraduate students in the second semester of academic year 2019 selected by purposive random sampling. Research tools included learning management model and creative writing ability test.


                The research findings were as follows:  1. the quality of the learning management model was high, 2. the mean score of effectiveness of the learning management model of process was 77.35, and the mean score of effectiveness of the learning management model of productivity was 76.97. Both were higher than the criteria 70/70, and 3. the result of creative writing skills found that posttest score was higher than pretest one at statistically significant .05.

Article Details

Section
Dissertations

References

กมล โพธิเย็น. (2547). รูปแบบการพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างเสริมความสามารถด้านทักษะการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยใช้แนวคิดทฤษฎีไตรอาร์ขิกและวิธีการสแกฟโฟลด์.ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม และคณะ. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ด้วยการ ช่วยเสริมศักยภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ด้านการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 16(2), 129-139.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธิดารัตน์ จอดนอก. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบปรับเหมาะที่มีปฏิสัมพันธ์ผ่าน คอมพิวเตอร์แบบพกพา หน้าจอสัมผัส. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ประเทือง อามาตย์. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์ภาษาไทยโดยใช้ยุทธศาสตร์การเสริมต่อการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์การเขียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารธรรมทรรศน์. 17(1), 99-109.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). เพื่อความเป็นผู้นำของการครุศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มยุรา กล่อมเจริญ. (2559). การใช้กิจกรรมการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วย วิธีสแกฟโฟลด์เพื่อพัฒนาการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 12(1), 122-138.

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (2562). การประชุมสะท้อนผลการเรียนรู้ประจำปีการศึกษา 2561, 3 มีนาคม พ.ศ.2562 ณ ห้องประชุมสำนักวิชาศึกษาทั่วไป. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สุวรรณา จุ้ยทอง. (2559). ผลของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวการสอนของครูผู้สอน คณิตศาสตร์ดีเด่น ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10(3), 178-191.

อรทัย อินตา. (2562).ผลการใช้หลักสูตรพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้กิจกรรมหนังสือ เล่มเล็ก สร้างเสริมคุณลักษณะและค่านิยม ระดับประถมศึกษา. วารสารวิชาการเครือข่าย บัณฑิตศึกษามหาวิยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 9(2), 49-62.

Adams, Dennis M.; & Hamm, Mary E. (1990). Cooperative Learning: Critical Thinking and Collaboration Across the Curriculum. Illinois: Charles C. Thomas.

Duffy and Cunningham. (1992). Constructivism and the technology of instruction: A conversation. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Eggen, P., & Kauchak, D. (1999). Windows on classrooms. Educational psychology. 3rd ed. Columbus, OH: Merrill-Prentice Hall.

Joyce, B., M. Weil, and E. Calhoun. (2015). Models of Teaching. 9thed. Boston: Pearson Education.

Slavin, Robert E. (1991). Educational Psychology: Theory into Practice. 3 rd. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.

Sternberg, Robert J. (1985). Beyond IQ: A triarchic theory of human intelligence. New York: Cambridge University Press.

Vygotsky. (1987). L.S. Mind is Society: The Development of Higher psychological Processes Cambridge. MA: Harvard University Press.

Wood, D., Bruner, J., and Ross, G. (1976). The Role of Tutoring in Problem Solving. Journal of Child Psychology and Psychiatry. 17(2), 89-100.