แนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การปกครองท้องถิ่นแบบสมาร์ท The Approaches for Development of Electronic Management of Local Government toward Smart Local Government

Main Article Content

คุณากร กรสิงห์ Khunakorn Kornsing

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรคในการนำระบบการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  2) หาแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การปกครองท้องถิ่นแบบสมาร์ท โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์ ลำปาง ชัยภูมิ และตรัง โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ระบบต่าง ๆ จำนวน 60 คน และผู้เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 8 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการประชุมกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย


          ผลการวิจัย พบว่า  1. สภาพปัญหา อุปสรรคในการนำระบบการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ 1.1  ปัญหาการขาดความรู้ ทักษะ และทัศนคติเชิงลบของบุคลากรต่อระบบเทคโนโลยี  1.2 ปัญหาความซับซ้อนของโครงสร้างการบริหารงาน 1.3 ปัญหาความไม่ชัดเจนของนโยบายและแนวปฏิบัติงานทางอิเล็กทรอนิกส์  1.4 ปัญหาความยุ่งยากของระบบปฏิบัติการทางอิเล็กทรอนิกส์  1.5 ปัญหาการขาดการประสานและการกำกับติดตามงานในระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพ และ 1.6 ปัญหาความไม่พร้อมของสิ่งสนับสนุนการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ 2. แนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การปกครองท้องถิ่นแบบสมาร์ท ได้แก่ 2.1 ควรพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 2.2 ควรพัฒนาการจัดโครงสร้างการบริหารงานทางอิเล็กทรอนิกส์  2.3 ควรมีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการบริหารงานทางอิเล็กทรอนิกส์  2.4 ควรพัฒนาระบบปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์  2.5 ควรพัฒนาการประสานงานและการกำกับติดตามงานทางอิเล็กทรอนิกส์  2.6 ควรพัฒนาสิ่งสนับสนุนการใช้งานระบบอิเล็กทรอนิกส์


           The objectives of this research were 1) to investigate the problems and challenges to implementing electronic management systems in various forms of local government 2) to explore the approaches for develop of electronic management of local government towards smart local government. This research was qualitative. The key informants were 60 executives and excutive and officers involving in electronic management systems of Local government and 8 specialists in electronic management. Data were collected by interview and focus group discussion, analyzed by using inductive approach.


           The result found that: 1. The problems and obstacles in the implement of electronic management systems in local government were involved with 1.1) the personnel 1.2) the administrative structure 1.3) the policies and guidelines 1.4) the operating systems 1.5) the coordination and monitoring and 1.6) the facilities   2. The approaches for development of electronic management of local government towards smart local government included 2.1) the development of potential of digital technology personnel 2.2) the development of electronic management structure 2.3) the development of electronic management policies and guidelines 2.4) the development of electronic operating systems 2.5) the development of electronic coordination and monitoring systems and 2.6) the development of electronic system facilities.

Article Details

Section
Research Articles

References

จุฬาลักษณ์ ตุงคำ (2555,มกราคม). แนวทางการการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 2 (2), 4.
ทิพรรณ พูลเกษม (2550). ขีดความสามารถในการให้บริการในระบบ GFMIS ของข้าราชการกรมบัญชีกลาง. ปัญหาพิเศษ (สาขาวิชาบริหารงานทั่วไป) มหาวิทยาลัยบูรพา.
พงศ์ หรดาล. (2540). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริม.
เพ็ญศรี มีสมนัย. (2549). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารองค์กรภาครัฐ หน่วยที่ 3. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ยุพาภรณ์ จงเจริญ. (2555).การบริหารเพื่อความเป็นเลิศขององค์กรตามแนวคิดของแมคคินซีย์กรณีศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเพชรบุรีเขต2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). การบริหารจัดการภาครัฐ: รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร.
Gulick, L. & Urwick, L (1936). “Notes on the Theory of Organization.” In papers on the Science of Administration. New York: Institute of Public Administration.
Higgins, J.M. (1995). Innovate or Evaporate: Test & Improve Your Organization’s IQ – Its Innovation Quotient. New York: New Management Publishing Company.
Tidd, J.; Bessant, J. & Pavitt, K. (2001). Managing Innovation Integrating Technological Market and Organization Change.