การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อพัฒนาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 Learning Management According to STEM Education Emphasize Engineering Design Process to Improve Mathematical Literacy in Ratio Proportion and Percentage Topic for Mathayomsuksa 1

Main Article Content

ตระการ ขวัญเนตร และคณะ Trakarn Khwannet and Others

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่พัฒนาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละและ เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่องอัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใบกิจกรรม แบบสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และแบบวัดการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่ส่งเสริมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ ควรเริ่มต้นบทเรียนด้วยการกำหนดสถานการณ์ปัญหาที่สอดคล้องใกล้ตัวนักเรียน เน้นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนเข้าใจแนวคิดทางคณิตศาสตร์และแนวคิดอื่น ๆ ที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา และใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนคิดในเชิงคณิตศาสตร์ ใช้แนวคิดทางคณิตศาสตร์ใน   การแก้ปัญหา ตลอดจนตีความ ประยุกต์ใช้ และประเมินผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งส่งผลให้นักเรียนส่วนใหญ่สามารถพัฒนาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี   


            The purposes of this research were to study guidelines for learning management of the STEM Education emphasize engineering design process and to develop mathematical literacy on ratio proportion and percentage topics. The methodology of this research was action research. The participants were 19 students of Mathayomsuksa one. The research instruments consisted of lesson plans, work sheets, observation form and mathematical literacy test. The data were analyzed by percentage, content analysis and data triangulation. The research results showed that the guidelines for learning management of the STEM Education emphasize engineering design process to develop Mathematical literacy should focus on everyday life situation problems. Support their students to understand the mathematical concept and problem-related information and use appropriately open-ended questions to motivate students to think and encourage students to apply the mathematics knowledge in solving problems. These activities lead most students to a good level of mathematical literacy.

Article Details

Section
Dissertations

References

กมลกานต์ ศรีธิ. (2561, มกราคม). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็น ฐานที่ส่งเสริมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่องภาคตัดกรวยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(37), 105-118.

รหัท ติ๊บแปง, จักรกฤษ กลิ่นเอี่ยม และวนินทร สุภาพ. (2562). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบบริบทเป็นฐาน เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ที่ส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชนเผ่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 48, 13-14 มิถุนายน 2562. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รุ่งทิวา บุญมาโตน. (2561, 26 กรกฎาคม). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 29(2), 51-61.

วนินทร สุภาพ. (2561, ตุลาคม). การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา:วิธีการ ความหวังและความท้าทาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(4), 302-314.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

______. (2562, 3 ธันวาคม). การแถลงข่าวผลการประเมิน PISA 2018. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สุนีย์ คล้ายนิล, ปรีชาญ เดชศรี, อัมพลิกา ประโมจนีย์, ประภัสสร วงษ์ดี, สุธิมา เทียนงาม, เอกรินทร์ อัชชะกุลวิสุทธิ์และคนอื่นๆ. (2562). การเรียนรู้เพื่อโลกวันพรุ่งนี้: รายงานการประเมินผลการเรียนรู้จาก PISA 2003. มปท. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2562, จาก https://drive.google.com/file/d/0BwqFSkq5b7zSbHVzYThnMHhCNDg/view

สุวิมล ว่องวานิช. (2557). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน=Classroom action research. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Capraro, R.M., Capraro, M.M., & Morgan, J.R. (2013). STEM project-based learning: An integrated science, technology, engineering, and mathematics (STEM) approach. Rotterdam: Sense.

Hoover, S. (2012). Developing real-world math through literacy. Ohio Journal of School Mathematics, 65(11), 24-29.

Ojose, B. (2011, June). Mathematics Literacy: Are we able to put the mathematics we learn into everyday use?. Journal of Mathematics Education. 4(1), 89-100.

Steen, L.A. (Ed.). (2001). Mathematics and democracy: The case for quantitative literacy. Princeton: National Council on Education and the Disciplines.

Vasquez, J.A., Sneider, C., & Comer, M. (2013). STEM Lesson essentials: Integrating science, technology, engineering, and mathematics. Portsmouth: Heinemann.