รูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพยุคดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน The Administrative Model of Professional Learning Community in the Digital Era of Small-Sized Primary Schools under the Office of Basic Education Commission

Main Article Content

กุลชนกนันท์ ธนโชติกิจเกื้อกูล และคณะ Kulchanoknan Thanachotekitkuekool and Others

Abstract

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพปัญหา และองค์ประกอบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2)สร้างรูปแบบ 3)ทดลองรูปแบบ และ4) ประเมินรูปแบบ โดยผู้วิจัยศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน ศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบ 2 โรงเรียน ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 604 คน จัดสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญเพื่อยืนยันรูปแบบจำนวน 12 คน สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้รูปแบบกับกลุ่มตัวอย่าง 28 คน และประเมินรูปแบบโดยการจัดประชุมประชาพิจารณ์ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์  2) แบบสอบถาม 3) แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย  1) ค่าเฉลี่ย  2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3)วิเคราะห์เนื้อหา และ 4) การวิเคราะห์หาปัจจัยองค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพยุคดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก  ปัญหาของการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สูงสุดคือ ครูมีการเปิดชั้นเรียนเพื่อรับการนิเทศชี้แนะการจัดการเรียนการสอนจากเพื่อนร่วมวิชาชีพและผู้บริหารมีน้อย องค์ประกอบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ มีค่า MSA เท่ากับ .97 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง .50 -.84 ได้แก่ ด้านการสร้างบรรทัดฐานและค่านิยมร่วมกัน ด้านภาวะผู้นำร่วมและสนับสนุน ด้านการร่วมกันวางเป้าหมายและรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้านการร่วมมือรวมพลัง ด้านการสนับสนุนการจัดโครงสร้างและความสัมพันธ์ของบุคคล และด้านการสะท้อนผลการปฏิบัติ  2) รูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพยุคดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา และส่วนการนำไปใช้ 3) ผลการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพจากการใช้รูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพยุคดิจิทัล ในระดับโรงเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และระดับเครือข่ายโรงเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพยุคดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด


              The purpose of this research was to propose an administrative model of professional learning community in the digital era of small-sized primary schools under the office of basic education commission. As specific four aims; 1) to study the current conditions, problems and components of administration in professional learning community 2) to construct the model 3) to experiment the model and 4) to evaluate the model. The researcher studied the relevant documents and researches, interviewed 9 experts, studied administration in professional learning community and interviewed the administrators of 2 best practice schools, used questionnaires with 604 samples, Connoisseurship with 12 experts to confirm the model, studied the result of using the model with 28 participants of target group and evaluated the model with 20 public hearing participants. The instruments were semi-structured interviews, five rating scale questionnaires, data records and evaluation form. Statistics were mean, standard deviation, content analysis and exploratory factor analysis. The research findings were as follow: 1) The current conditions of administration in professional learning community of small-sized primary schools found that the implementation was at high level in overall, the main problem showed that teachers have less chance to open classes for supervision and guidance in teaching and learning from colleagues, administrators, and the components of administration in professional learning community consisted of 6 components as shared values and vision, shared leadership and supporting, shared goals and student learning accountability, collaboration, supportive structure and relationship, and reflective practice with .97 MSA and .05 -.84 of factor loading.  2) The model consists of 3 parts; introduction, content and implementation. 3) The result of professional learning community administration followed the model in school level was at the highest level, and school network level was at high level in overall. 4) The result of model evaluation found that it was suitable possible and useful at the highest level in overall.

Article Details

Section
Dissertations

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. ผู้แต่ง.

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). ปฏิรูปการศึกษาไทยรายงานของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา สรุปรายงานสำหรับผู้บริหาร. เอกสารการประชุม 2 ปี ปฏิรูปการศึกษา ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน. 24 พฤษภาคม 2562. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.

เดชณรงค์ รอดซุง. (2562, มกราคม–มิถุนายน). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะวิชาชีพด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการของนักศึกษาฝึกงานประเภทวิชาอุตสาหกรรม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ, 9 (1), 87-100.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.

นริศ ภูอาราม. (2560) .การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับเครือข่ายโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. (การบริหารและพัฒนาการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ปภาวี พิพัฒนาลักษณ์. (2557). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเรียนร่วมตามแนวคิดภาวะผู้นำที่ยั่งยืนเพื่อเสริมสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. (การบริหารการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

มนตรี แย้มกสิกร. (2559). ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ: ความท้าทายต่อการเปลี่ยนตนเองของครู. การประชุมวิชาการขอองคุรุสภา ประจำปี 2559 “การวิจัยนวัตกรรมการเรียนรู้และการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”. (เอกสารประกอบการประชุม). กรุงเทพฯ.

รัตนะ บัวสนธ์. (2554). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครสวรรค์: หจก. ริมปิงการพิมพ์.

วรลักษณ์ ชูกําเนิด. (2557). รูปแบบการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิธีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ. มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

สมาน อัศวภูมิ. (2558). เอกสารคำสอน รายวิชา การบริหารสำหรับครู (ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 2). อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561) .การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล (SCHOOL MANAGE MENT IN DIGITAL ERA). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2561 จาก http://data.bopp-obec.info/emis/index.php

อำนาท เหลือน้อย. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมาตรฐานสากล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, นครสวรรค์.

Bigs, C. L., Birks, E.G., & Atkins, W. (1980). Managing the systems development process. Engle wood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Danielle D. (2019). Teachers’ Perception of Voluntary Professional Learning Community (PLC) Participation and Their Instructional Practices. Doctoral dissertation. ST. John’s University, New York.

Edwards, P. (1985). System analysis design and development: With structured concepts. New York: Holt Rinehart and Winston.

Elizabelt J.S. (2018). Professional Learning Communities: An Examination Of Teachers’ Perspectives on Professional Conversations and Student Learning. Doctoral dissertation. Western Connecticut State University, Connecticut.

Hord, S.M., Roussin J, L., & Sommers, W.A. (2010). Guiding professional learning communities: inspiration, challenge, surprise, and meaning. Corwin Press.

Mathew R.S. (2019). Using School Leadership Teams as Professional Learning Communities to Improve Professional Capital and Leadership. Doctoral dissertation. Illinois State University, State of Illinois.

Rachellee L.B. (2019). The Elementary Principal’s Role in Professional Development and Learning Communities: How to Support Continual Professional Growth. Doctoral dissertation., University of Wisconsin Madison, Wisconsin.