การพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะชีวิตเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง Development of Life Skills Development Model for Pre-School and Early Childhood Children Based on Sufficiency Economy Philosophy

Main Article Content

อนงค์นารถ ยิ้มช้าง Anongnat Yim-Chang

Abstract

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานทักษะชีวิตเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) สร้างและทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะชีวิตเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) ประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะชีวิตเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัยครั้งนี้คือ   เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 3-6 ปี ชั้นก่อนวัยเรียน อนุบาลปีที 2 และอนุบาลปีที่ 3 ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  จำนวน 245 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินทักษะชีวิต แบบประเมินความพึงพอใจ และแผนการพัฒนาทักษะชีวิต ของเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที


            ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาพัฒนาการด้านทักษะชีวิตเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กปฐมวัย พบว่า ทักษะชีวิตของเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กปฐมวัย ที่แสดงพฤติกรรมมากที่สุด คือ แบ่งปัน มีน้ำใจกับเพื่อนอยู่เสมอ รองลงมาคือ ยืนตรงเคารพธงชาติ และเด็กเก็บที่นอนด้วยตนเอง 2.คุณภาพของรูปแบบการพัฒนาทักษะชีวิตเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่งผลให้เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กปฐมวัยมีคะแนนทักษะชีวิต หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.ความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะชีวิตเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.54)


                The purposes of this research were: 1) to study basic information on life skills for preschool and early childhood children in accordance with the sufficiency economy philosophy, 2) to create and experiment the used of life skills development model for preschool and early childhood children in accordance with the sufficiency economy philosophy, and 3) to assess the satisfaction in using life skills development model for preschool and early childhood children in accordance with the sufficient economy philosophy. The sample was received from the purposive sampling method. The research tools consisted of 1) life skills assessment for preschool and early childhood children in accordance with the principles of the sufficiency economy philosophy, 2) the development of life skills for preschool and early childhood children in accordance with the sufficiency economy philosophy. Data analysis by using the statistics included Mean, Standard Deviation (S.D.), and t-test.


                The research results were as follow: 1) Results of the development of life skills for preschoolers and preschool children Nakhon Sawan Province, found that life skills of preschoolers and preschool children The most behavioral behavior was to always share kindness with friends, followed by standing upright to respect the flag and children collecting their own bedding. The efficiency of life skills development model for preschoolers and preschool children in accordance with the sufficiency economy philosophy Overall is in the high level 2) the efficiency of instructional package in Arts and Creativity of Early Children course is 80.72/82.86 which is higher than the standard criterion, regarding to the achievement test, the posttest are higher than the pretest with statistically significant at the 0.05 level, and 3) it was found that, the overall satisfaction of the students towards the development of instructional package in Arts and Creativity of Early Children is at the high level.

Article Details

Section
Research Articles

References

กรมสุขภาพจิต. 2545 คุณภาพชีวิตและความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย.กรุงเทพฯ: บี ยอนพับลิสซิ่ง.

สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จีระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2556). การพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชบา พันธ์ศักดิ์. (2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงประสบการณ์และการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยการ ร่วมงานระหว่างผู้ปกครองและครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2547) . คู่มือออทิสติก สําหรับผู้ปกครอง. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

ทิศนา แขมมณี. (2536). หลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัฒนา ชัชพงศ์. (2530). การจัดประสบการณ์และกิจกรรมระดับปฐมวัย. เอกสารการบรรยายชุดที่ 8 แผนการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มุจลินท์ กลิ่นหวล. (2557). การวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อทักษะชีวิตของเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (ปฐมวัยและประถมศึกษา).สาขาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตร การสอน และเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

รุ่งลาวัลย์ ละอำคา. (2557) ทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย: แก่นแห่งชีวิตที่เสริมสร้างได้จากครอบครัว. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สำรวย สุขชัย. (2554). ผลการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยการศึกษามหาบัณฑิต(สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

Blase, J., & Blase, Anderson jr . (1997). Empowering teachers: What successful principals do. Thousand Oaks, California: Corwin Press.

Galinsky, Ellen (2010). Mind in the making : the seven essential life skills every child need. New York : HarperCollins.

Kaplan, J,F.; & T.L. Patherson. (1993) Health and Human Behavior. New York : Mc Grow – Hill.

Mangrukar,L.,C.Whitman; & M. Posner. (2001) Life Skills. Washington, D.C.