การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน The Development of Training Course Curriculum in Classroom Action Research

Main Article Content

เสาวภา ปัญจอริยะกุล Saowapha Punchaariyakul

Abstract

             การวิจัยเรื่องการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่องการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างหลักสูตรและคู่มือฝึกอบรม  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการใช้หลักสูตรฝึกอบรม  3) ศึกษาความสามารถในกรจัดทำรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนหลังการฝึกอบรม และ 4) ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน  กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาคณะครุศาสตร์ระดับปริญญาตรี 5 ปี ที่ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในปีการศึกษา 2560 จำนวน 147 คน โดยวิธีการใช้เกณฑ์ร้อยละ 19 ของจำนวนประชากร ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบทดสอบก่อน - หลังการฝึกอบรม มีลักษณะเป็นข้อคำถามชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ 2) แบบประเมินคุณภาพรายงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรม ประกอบด้วย เอกสารหลักสูตรฝึกอบรม และเอกสารประกอบการฝึกอบรม ได้แก่ คู่มือหลักสูตรสำหรับผู้ให้การฝึกอบรม และคู่มือหลักสูตรสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t - test dependent 


                ผลการวิจัยพบว่า


               1. หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม, เรื่อง การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ประกอบด้วย เอกสารหลักสูตรฝึกอบรม และเอกสารประกอบการฝึกอบรม ได้แก่ คู่มือหลักสูตรสำหรับผู้ให้การฝึกอบรม และคู่มือหลักสูตรสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม


               2. ผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเข้ารับการอบรมและหลังของผู้เข้ารับการอบรม มีคะแนนหลังเข้ารับการอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


               3. คุณภาพรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี 


               4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมมีต่อหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก


                  The research study on the development of a training curriculum on classroom action research aimed to: 1) develop a curriculum and a training manual, 2) compare the achievement between before and after using a training course curriculum, 3) study the ability to create action research reports in the classroom after the training, and 4) evaluate the satisfaction of the trainees towards a training course curriculum on classroom action research. The samples in this study were using purposive sampling method. They were 147 fifth-year-undergraduate students who were doing teaching practices during academic year 2017 by using criteria 19 percent of the population. The research instruments were including 1) the 50 pre-test and post-test containing 50 multiple-choice items, 2) the assessment form for quality of classroom action research reports, and 3) the satisfaction assessment form for trainees. The experimental instruments were a training course curriculum which was composed of the training documents, the training manual for trainers, and the course guide for trainees. The data were analyzed using mean, the standard deviation, and t-test dependent.


                The research results were as follows:


                 1. The training course curriculum on classroom action research for students’ achievement was composed of training documents and training materials which consist of the course manual for trainers and the course guide for trainees.


                 2. Comparing the test before and after the training of trainees, the scores after training was higher than before the training significantly 0.5


                  3. The quality of the classroom action research report of the trainees as a whole was at the good.


                  4. The evaluation of the participants were satisfied with the training curriculum of classroom action research. Overall, the satisfaction was at the very good level.

Article Details

Section
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กิตติพร ปัญญาภิญโญผล. (2545). เครื่องมือวัดเจตคติ เอกสารประกอบการสอนรายวิชาจิตวิทยาการศึกษา. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์.

กุลธน ธนาพงศธร และไตรรัตน์ โภพลากรณ์. (2537). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

โกวิท ประวาลพฤกษ์. (2527). การประเมินในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

แขก มูลเดช. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. เพชรบูรณ์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

คณะครุศาสตร์. (2552). คู่มือแบบบันทึกการนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเต็มรูป. เชียงใหม่: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เด่นดาว ชลวิทย์. (2554). การพัฒนาหลักสูตรและวิธีการเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ธนู กุลศล. (2523). มนุษยพฤติกรรมและการเรียนในการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: บัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบและการพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2547). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2531). วิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์การพิมพ์.

ไพศาล หวังพานิช. (2542). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วิจิตร อาวะกุล. (2540). การฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2535). การพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สุวีริยสาส์น.

______. (2543). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มาตรฐานการอุดมศึกษา.

วิษณุ ทรัพย์สมบัติ. (2549). การพัฒนานวัตกรรมการประเมินการเรียนการสอนของครู: การฝึกอบรมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ด้วยการสร้างเครือข่าย และการคิดสะท้อนอภิมาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีพรรณ สิทธิพงศ์. (2542). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). เชียงใหม่: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ศิริมาส พฤหัสนันท์. (2543). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่อง ทักษะและวิธีสอนสำหรับครูในโรงเรียนอาชีวศึกษา สังกัดสังฆณฑล ราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการนิเทศ). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

สมพิจ ดำดวล. (2551). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสำหรับครูโรงเรียนสุวรรณวงศ์ สังกัดสำงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

สุธาสินี บุญญาพิทักษ์. (2545). การพัฒนาหลักสูตรครูนักวิจัยในชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, กรุงเทพฯ.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2553). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Engel, Charies, E. (1997). Not just a method but a way of Learning, in The Challenge of Problem – Based Learning. (2nd ed.). Boud, David & Feletti, Grahame I (Ed). London: Kogan Page.

Freeman, Danald. (1988). Doing Teacher Research: From Inquiry To Understanding. Canada: Heinle & Heinle.

Kemmis, S. (1988). Action Research. In Keeves, J.P. (Ed.). Educational Research, Methodology, and Measurement: An International Handbook. (pp.42 – 49). Oxford: Pergamon Press.

Schnidt. Henk G. (1983). Problem – Based Learning: Rational and Description. Journal of Medical Education, 17, 11-16.

Taba, Hilda. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace and World.