ผลการจัดกิจกรรมร้องเพลงที่มีต่อความสามารถด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย The Effects of Singing Activities towards Listening and Speaking Skills of the Kindergarten Students

Main Article Content

นงลักษณ์ แก้วมณี และคณะ Nonglak Kaewmanee and Others

Abstract

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้  1) เพื่อเปรียบเทียบจำนวนเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมร้องเพลงที่มีต่อความสามารถด้านการฟังและการพูดผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็มกับจำนวนร้อยละ 80 ของเด็กปฐมวัยทั้งหมด  2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมร้องเพลงกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 4-5 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำโพใต้ สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครนครสวรรค์ จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์การจัดกิจกรรมร้องเพลงที่มีต่อความสามารถด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 20 แผน 2) แบบประเมินการจัดกิจกรรมร้องเพลงที่มีต่อความสามารถด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย จำนวน 20 ข้อ มีค่า IOC เท่ากับ 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นด้วยดัชนีสอดคล้องของผู้ประเมินได้เท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test


                ผลการวิจัยพบว่า 


                1. เด็กปฐมวัยจำนวนร้อยละ 100 ของเด็กปฐมวัยทั้งหมดที่ได้รับการจัดกิจกรรมร้องเพลงที่มีต่อความสามารถด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 


                2.เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมร้องเพลงที่มีต่อความสามารถด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย หลังได้รับการจัดกิจกรรมร้องเพลงสูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมร้องเพลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2  


                  The objectives of this research were: 1) to compare the number of early childhood students who were taugh using singing activity, which effect the criterion of listening and speaking skills at 75 percent from the total score and 80 percent from the total number of early childhood students. 2) To compare the listening and speaking skills of early childhood students between pre-participation and post participation using singing activities. The sample used in this study were 24 kindergarten students age between 4-5 years old who were studying in kindergarten 2  in the second semester, academic year 2017, Pak Nam Pho Tai School under Nakhon Sawan Educational Institution. The research instrument were 1) 20 experience plans for the singing activities towards listening and speaking skills of early childhood students in kindergarten 2 and 2) the evaluation form of the singing activities towards  listening and speaking skills of early childhood students with the IOC between 0.67-1.00. The reliability with the IOC was 0.83. The statistic used for the data analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test.


                The research results were as follows: 


                 1. 100 percent of all early childhood students who were taught using singing activities, had listening and speaking skills of 75 percent from the total scores with a statistical significant at .05 level , according to hypothesis 1.


               2. The early childhood students who were taugh using singing activities had speaking and listening skills higher than before singing activities, with a statistical significant at .05 level, according to the hypothesis 2.

Article Details

Section
Dissertations

References

กรมวิชาการ. (2546). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรน-เบสบุ๊คส์.

ปิยนุช แข็งกสิการ, วไลพร เมฆไตรรัตน์ และบัณฑิตา อินสมบัติ. (2561). ผลการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะการสังเกตและทักษะจำแนกประเภทของเด็กปฐมวัย, วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(1), 125-135.

พรรณมณี อุปัฌา. (2552). การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมองโดยใช้บทคล้องจองและเพลงเด็กเพื่อพัฒนาความพร้อมทางภาษาด้านการฟังและการอ่านของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

รอยพิมพ์ ทิพย์โภชน์. (2555). ผลการใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ เพื่อพัฒนาการพูดด้วยการจัดกิจกรรมคำคล้องจองสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2. ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

มัลลิกา ผ่องแผ้ว. (2558). วิชาภาษาไทย รหัสวิชา 040105 บทที่ 2 การฟัง. วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา, ระยอง.

สุภาวดี ศรีวรรธนะ. (2548). พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยและวิธีการส่งเสริม. นครสวรรค์: เจ กรุ๊ป แอ็ดเวอร์ไทซิ่ง การพิมพ์.

อัครภูมิ จารุภากร และพรพิไล เลิศวิชา. (2550). สมองเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สถาบันวิทยาการการเรียนรู้.

Bursky, Robert F, & Noam Chomsky. (1997). A Life of Dissent. Cambridge: The MIT Press.

Flowers. (1998). Music Vocabulary of First Grade Children: Words Listened For Instruction and their Actual Use. Ohio: Ohio State University Press.

Lyons, John. (1978). Noam Chomsky. New York: Penguin Books.

Miller. (1951). Engliss Riddles from Oral Tradition. California: University of California Press.

Simpson, T. (1998). Characteristic of Oral Language used by selected for-years old In story Retellings. Ohio: Ohio State University Press.