การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะวิชาชีพด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการของนักศึกษาฝึกงาน ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา The Development of the Encouragement Model in Profession Skill Through Action Research Process of Apprentice Students in the Section of Industrial Course Belong to the Vocational Education Commission
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพในการเสริมสร้างทักษะวิชาชีพของนักศึกษาฝึกงาน ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) สร้างรูปแบบการเสริมสร้างทักษะวิชาชีพด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการของนักศึกษาฝึกงาน ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 3) ทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะวิชาชีพด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการของนักศึกษาฝึกงาน ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 4) ประเมินความคิดเห็นหลังการใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะวิชาชีพด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ ของนักศึกษาฝึกงาน ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จากการวิจัยพบว่า 1) สภาพการปฏิบัติในการฝึกทักษะวิชาชีพของครู ในภาพรวม ครูได้ปฏิบัติในการฝึกทักษะวิชาชีพ อยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการเสริมสร้างทักษะวิชาชีพของนักศึกษาฝึกงาน มีขั้นตอนดังนี้ การศึกษาความต้องการ การรับรู้ การเตรียมความพร้อม การสาธิตทักษะ การเลียนแบบ การให้เทคนิควิธีการ การทำอย่างถูกต้อง การทำอย่างชำนาญ การปรับปรุงและประยุกต์ใช้ การคิดริเริ่ม การประเมินผลและการเทียบเกณฑ์ 3) นักศึกษาผู้เข้ารับการเสริมสร้างตามรูปแบบมีสมรรถนะด้านทักษะวิชาชีพและผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 4) รูปแบบการเสริมสร้างทักษะวิชาชีพด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการมีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในระดับมากที่สุด
This research is in the type of research and development. The objectives of this research were. 1) to study the state of encouragement in professional skill of apprentice students in the section of industrial course belong to the vocational education commission.2) to create assess the model of the encouragement in professional skill of the apprentice students in the section of industrial course belong to the vocational education commission.3) to try to use the model of encouragement in professional skill of apprentice students in the section of industrial course belong to the vocational education commission.4) to assess the opinion of the teachers after using the model of encouragement in professional skill of apprentice students in the section of industrial course belong to the vocational education commission. The results were.1) the overall of teachers trained of professional skill for the apprentice students in the high level.2) there were 11 steps of the model of encouragement in professional skill of apprentice students. 3)The students who had got the development of profession skill can develops the skill better and pass the criteria.4)The model of encouragement in profession skill through action research process have accuracy, suitability, possibility and usefulness in the most level.
Article Details
References
ตระกูล จิตวัฒนากร. (2555). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพ สำหรับครูผู้สอนบริหารธุรกิจของวิทยาลัยอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
เมธีศิน สมอุ่มจารย์. (2556). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูช่างอุตสาหกรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.วารสารศึกษาศาสตร์, 15(ฉบับพิเศษ), 169-181.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2550). คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รายงานการวิจัยการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาความต้องการกำลังคนเพื่อวางแผนผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ. กรุงเทพฯ: กลุ่มนโยบายสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). แนวทางการส่งเสริมการเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอน ปลายสายอาชีพตามเป้าหมายในแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552-2559). กรุงเทพฯ: กลุ่มนโยบายสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
_______. (2555). การศึกษาการพัฒนากรอบคุณวุฒิแห่งชาติของประเทศไทย : เชื่อมโยงกับกรอบคุณวุฒิอาเซียน. กรุงเทพฯ : กลุ่มนโยบายการศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคน.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมดาเพรส จำกัด.
Davies, I.K. (1971). The Management of Learning. London : McGraw - Hill.
De Cecco, J.P. (1974). The Psychology of Learning and Instruction: Educational Psychology. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.
Fitts, P.M. (1964). Perceptual-motor Skill Learning, in A. W. Melton (ed.), Categories of Human Learning. London: Academic Press.
Joyce, B;& Weil, M.(1986). Model of Teaching (3rded.). Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.
Harrow, A. (1972). A Taxonomy of The Psychomotor Domain: A Guide for Developing Behavioral Objectives. New York: Longman Inc.
Simpson, D. (1972). Teaching Physical Educations: A System Approach. Boston: Houghton Mufflin Co.