การส่งเสริมคุณค่าท้องถิ่นและความเข้มแข็งของชุมชนผ่านการปรับปรุงภูมิทัศน์ชุมชน

ผู้แต่ง

  • Wandee Pinijvarasin วันดี พินิจวรสิน Kasetsart University

บทคัดย่อ

การพัฒนาสภาพแวดล้อมชนบทโดยเฉพาะการสร้างถนนเข้าสู่ชุมชนมักเป็นโครงการโดยภาครัฐและองค์กรของท้องถิ่น แม้ว่าโครงการเหล่านี้สร้างความสะดวกด้านการคมนาคม แต่ส่วนใหญ่มักส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมของชุมชนในหลายท้องที่ในลักษณะที่แตกต่างกัน อันเนื่องจากขาดการคำนึงถึงความเชื่อมโยงต่อปัจจัยภายในของท้องถิ่นอย่างครอบคลุม บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาภูมิทัศน์บริเวณถนนของชุมชนที่สร้างความสอดคล้องและสัมพันธ์กับบริบทของท้องถิ่น ข้อมูลที่ใช้ในบทความนี้มาจากการสังเกตและสัมภาษณ์ชาวบ้านและผู้นำในอดีตของบ้านไร่สะท้อน ตำบลถ้ำรงค์ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นชุมชนที่มีการรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นและมีบรรยากาศการอยู่อาศัยที่ร่มรื่นและเป็นระเบียบโดยเฉพาะบริเวณถนนของชุมชน จากการศึกษาพบว่า การพัฒนาภูมิทัศน์บริเวณถนนหลักของบ้านไร่สะท้อนทำให้เห็นแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณชุมชนที่สอดคล้องกับความเป็นท้องถิ่นโดยผู้นำที่มีธรรมาภิบาล การดำเนินการพัฒนาเป็นไปในแนวทางของความพอเพียง โดยเน้นให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการสร้างและดูแลสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของตนอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาภูมิทัศน์บริเวณถนนนอกจากจะมีผลต่อการสร้างเสริมอัตลักษณ์ให้กับชุมชน และส่งเสริมการรักษาคุณค่าทางสังคมวัฒนธรรมท้องถิ่นแล้ว ยังนับเป็นสื่อในการสร้างความร่วมมือของชุมชนได้อย่างประสบความสำเร็จอีกด้วย

Author Biography

Wandee Pinijvarasin วันดี พินิจวรสิน, Kasetsart University

Faculty of Architectre,

Assistant Professor, Dr.

References

Chompun, J. (2013). Good Governance and Public Participation in Decision-making Process of Development Project. Journal of Environmental Management, 9(1), 85– 106.

Gehl, J. (2013). Life Between Buildings: Using Public Space [In Thai: เมืองมีชีวิต: การใช้พื้นที่สาธารณะ] (Pakanan Senakhun Rung Sang, Trans). Bangkok: Li-Zenn Publishing.

Heidegger, M. (1975). Poetry, language, thought (A. Hofstadter, Trans). New York; Sydney: Harper & Row.

Ledcharnridh, T. (2011). Cultural Resource Management [In Thai: การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม]. Bangkok: Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre.

Lynch, K. (1960). The image of the city. Cambridge: MIT Press.

Mookpradit, M. (2551). Geosocial and approach of Royal thought [In Thai: ภูมิสังคมกับแนวพระราชดำริ]. Retrieved March 22, 2016, from http://www.haii.or.th/wiki84/index.php/ภูมิสังคมกับแนวพระราชดำริ

Office of the National Culture Commission, Ministry of Culture & Faculty of Architecture, Silpakorn University. (2006). Approach for Cultural Landscape Management [In Thai: แนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม]. Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Pinijvarasin, W. (2006). Changes in Thai Vernacular Housing: Emphasizing, Eliminating and Enclosing an Aquatic Environment. In International Association for the Study of Traditional Environments-Traditional Dwellings and Settlements, Working Paper Series 2006: Hyper tradition and the Imaginary in Place-Making, Volume 193 (pp.1257 – 1269). Berkeley: University of California.

Pinijvarasin, W., Angsuved, J. & Panomrhid, S. (2014). Knowledge management through local wisdom (Central region): A case study of Thai vernacular houses of Phetchburi [In Thai: การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น (พื้นที่ภาคกลาง): กรณีศึกษา เรือนไทยพื้นถิ่นเมืองเพชรบุรี]. In Proceedings of Knowledge management for housings and ways of life through local wisdom: vernacular houses in 4 regions (pp. 80– 129). Bangkok: Faculty of Architecture, Silpakorn University.

Pinijvarasin, W., & Panin, O. (2008). Development of vernacular community: Different changes of landscape characteristics [In Thai: การพัฒนาชุมชนพื้นถิ่น: การเปลี่ยนแปลงลักษณะภูมิทัศน์ที่แตกต่าง]. In Proceedings of 46th Kasetsart University Academic Conference (pp. 292–304). Bangkok: Kasetsart University.

Phongphit, S. (2005). Community Learns, Living with Well-being [In Thai: ชุมชนเรียนรู้ อยู่เย็นเป็นสุข]. Bangkok: Palang Panya Press.

Relph, E. C. (1976). Place and placelessness. London: Pion.

Sathapitanon, P. (2006). “Section 1: Concepts of Participatory Communication and Community Development” [In Thai: ตอนที่หนึ่ง: แนวคิดด้านการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน]. In Participatory Communication and Community Development: from Concepts to Research Practice in Thai Society (pp. 11 – 56). Bangkok: Thailand Research Fund.

SuebNakhasathian Foundation. (2015). Development and Culture: StopRoads cut through Thung Yai Naresuan : Stop Development destroying the jungle [In Thai: พัฒนธรรมและวัฒนธรรม: หยุดถนนผ่าป่าทุ่งใหญ่นเรศวร : หยุดการพัฒนาทำลายป่าใหญ่]. Retrieved December 19, 2015, from http://www.seub.or.th

Tantivejkul, S. (2009). Changing Philosophy in ways of living [In Thai: ปรับเปลี่ยนปรัชญา ในการดำรงชีวิต]. Retrieved March 22, 2016, from http://www.theiiat.or.th/km/newsdesc.php?n=90202113430

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-07-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research