การศึกษาการใช้จุลินทรีย์ประสิทธิภาพอัดแท่งเพื่อการบำบัดน้ำเสีย

ผู้แต่ง

  • Thinadda Pimpuang ธินัฐดา พิมพ์พวง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการใช้จุลินทรีย์ประสิทธิภาพ (EM) อัดแท่งในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อบำบัดน้ำเสียภายในห้องปฏิบัติการและในแหล่งน้ำโดยวิเคราะห์คุณภาพน้ำด้านกายภาพ ได้แก่ สี ความขุ่น ค่าการนำไฟฟ้า ของแข็งแขวนลอย ของแข็งละลายน้ำ วิเคราะห์คุณภาพน้ำด้านเคมี ได้แก่ บีโอดี ซีโอดี ดีโอ และ พีเอช วิเคราะห์คุณภาพน้ำด้านชีวภาพ คือ ปริมาณแบคทีเรียทั้งหมด ผลการศึกษา พบว่าสัดส่วนของจุลินทรีย์ชนิดอัดแท่งที่เหมาะสม คือ จุลินทรีย์ประสิทธิภาพ (EM ) ชนิดน้ำ 750 มิลลิลิตร น้ำสะอาด 750 มิลลิลิตร รำละเอียด 1.25 กิโลกรัม ทรายละเอียด 0.75 กิโลกรัมและแป้งมันสำปะหลัง 1 กิโลกรัม เมื่อน้ำมาวิเคราะห์ปริมาณแบคทีเรียทั้งหมดมีจำนวน 4.7x108 CFU/mg เมื่อบำบัดน้ำเสียโดยใช้ จุลินทรีย์ประสิทธิภาพอัดแท่ง โดยทดลองในห้องปฏิบัติการ พบว่า มีประสิทธิภาพในการกำจัดบีโอดี (BOD) คิดเป็นร้อยละ 37.74 – 84.83 การกำจัดซีโอดี (COD) คิดเป็นร้อยละ 19.16 – 58.62 เมื่อทดลองโดยการบำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำ พบว่า มีประสิทธิภาพในการกำจัดบีโอดี (BOD) คิดเป็นร้อยละ 44.74 – 86.58 การกำจัดซีโอดี (COD) คิดเป็น ร้อยละ 14.63 – 75.59 ทั้งนี้พบว่าการเติมจุลินทรีย์ประสิทธิภาพอัดแท่งจะช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนละลาย (DO) ในแหล่งน้ำจากการทดสอบทางสถิติพบว่าการบำบัดน้ำเสียในห้องปฏิบัติการและในพื้นที่แหล่งน้ำ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ส่วนการทดลองในพื้นที่แหล่งน้ำช่วงฤดูแล้งและช่วงฤดูฝนมีประสิทธิภาพแตกต่างกัน (p< 0.05) การวิเคราะห์จุลินทรีย์ทั้งหมดพบว่าหลังการทดลองมีปริมาณแบคทีเรียทั้งหมดเพิ่มขึ้นทุกๆ การทดลอง

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research