การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการคัดเลือกพื้นที่เหมาะสมทางกายภาพในการกำจัดขยะด้วยวิธีฝังกลบ: กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ AN APPLICATION OF GEOGRAPHIC INFORMATION SYSTEM FOR THE PHYSICAL SUITABILITY OF SOLID WASTELANDFILL SITE SELECTION: A CASE ST

ผู้แต่ง

  • Phanisa Sungwian พนิศา สังเวียน
  • Wanpan Charoentrakulpeeti วันเพ็ญ เจริญตระกูลปีติ

บทคัดย่อ

ปัญหาขยะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงในประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่เมืองที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สลับซับซ้อนมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัดทำให้ประสบปัญหาในการหาพื้นที่กำจัดขยะ ประกอบกับการคัดค้านของชุมชนใกล้เคียงกับที่ตั้งพื้นที่กำจัดขยะและข้อกำหนดในการหาพื้นที่กำจัดขยะที่เข้มงวด อย่างไรก็ตามการหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการกำจัดขยะเป็นสิ่งจำเป็นต่อการวางแผนเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเมืองและการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบถูกสุขลักษณะ การศึกษานี้ได้ประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการคัดเลือกพื้นที่เหมาะสมทางกายภาพในการกำจัดขยะด้วยวิธีฝังกลบ โดยการคาดการณ์ปริมาณขยะจากการเจริญเติบโตของประชากรด้วยวิธี Exponential Rate of Growth ในปี พ.ศ.2558 - พ.ศ.2572 และคาดการณ์การขยายตัวของเมืองด้วยแบบจำลอง Cellular Automata Markov ในปี พ.ศ.2563 และ พ.ศ.2572 เพื่อนำไปหาพื้นที่กำจัดขยะในอนาคตโดยเลือกจังหวัดสมุทรปราการเป็นกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ในปี พ.ศ.2563 จะมีปริมาณขยะ 3,269.80 ตัน/วัน และในปี พ.ศ.2572 จะมีปริมาณขยะ 4,059.80 ตัน/วัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันประมาณร้อยละ 68.92 และ109.73 ตามลำดับ โดยพื้นที่เหมาะสมมากที่สุดในการกำจัดขยะด้วยวิธีฝังกลบมีจำนวน 9 แปลง เนื้อที่รวม 5.56 ตร.กม. แปลงที่มีขนาดพื้นที่มากที่สุด มีขนาด 3.50 ตร.กม. ตั้งอยู่ในเขตติดต่อสองอำเภอ คือ ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลบางปลา อำเภอบางพลี

References

Auwatana, V. (2011). Prediction of changes in land use in Phuket [In Thai: คาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของการใช้ที่ดินในจังหวัดภูเก็ต]. Unpublished Master of Science Thesis, Graduate School, Srinakharinwirot University.

Department of Public Works and Town & Country Planning. (2008). Study the standard model used in the analysis to urban planning as well [In Thai: โครงการศึกษาตัวแบบมาตรฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อวางผังเมืองรวม]. Bangkok: Pigkanate Printing Center.

Department of Public Works and Town & Country Planning. (2006). Comprehensive Planning Criteria and standards, 2006 [In Thai: เกณฑ์และมาตรฐานผังเมืองรวม พ.ศ. 2549]. Bangkok: Department of Public Works and Town & Country Planning.

Leao, S., Bishop, I., & Evans, D. (2004). Spatial-temporal model for demand and allocation of waste landfills in growing urban regions. Computers, Environment and Urban System, 28, 353 – 385.

Payomyam, J., Nakapakron, K., & Autsavarujikulchai, A. (2011). Expected volumes of waste from the expansion of urban areas in the Chaopaya Surasak Municipality Chonburi [In Thai: คาดการณ์ปริมาณขยะจากข้อมูลการขยายตัวของพื้นที่เมืองในเขตเทศบาลตำบลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ จังหวัดชลบุรี]. Journal of Science and Technology, 19, 51 – 61.

Pollution Control Department. (2014). The situation of pollution 2013: Thailand. [In Thai: สรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2556]. Bangkok: Saiturakitrongpim.

Piromreun, S. (2010). Physical planning [In Thai: การวางแผนด้านกายภาพ]. Bangkok: J-Printing.

Samutprakan Provincial Office. (2013). Samutprakan development plan 2014 – 2017 [In Thai: แผนพัฒนาจังหวัด สมุทรปราการ 4 ปี (พ.ศ.2557-2660)]. Unpublished document.

Samutprakan Provincial Office of Natural Resources and Environment. (2014). Solid waste management plan: Samutprakan [In Thai:แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดสมุทรปราการ]. Unpublished document.

Samutprakan Provincial Statistics Office. (2011). Province statistic report : 2008. [In Thai:รายงานสถิติจังหวัด พ.ศ.2544]. Samutprakan: Samutprakan Provincial Statistics Office.

Srisatit, T. (2010). Engineering of waste for community [In Thai:วิศวกรรมการจัดการมูลฝอยชุมชน]. Bangkok:

Chulalongkorn University.

Tapinta, A. (2010). Ordinary knowledge of solid waste management [In Thai: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย]. Bangkok: Chulalongkorn University.

The World Bank. (1999). What a waste solid waste management in Asia. Urban Development Division, East Asia and Pacific Region. Washington, DC: World Bank.

United Nations Development Programme. (2009). Developing Integrated Solid Waste Management Plan: Training Manual. International Environmental Technology Centre, Japan.

Wichiensil, J., Vongrum, N., & Wrannathong, C. (2014). Using geographic information system for identify suitable landfill waste areas: A case study of Lamplaymas, Burirum [In Thai:การใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อศึกษาหาพื้นที่เหมาะสมต่อการฝังกลบขยะมูลฝอย กรณีศึกษา : อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์]. Unpublished Geographic Information Studies, Faculty of Humanities and Social Sciences, Buriram Rajabhat University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-07-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research