ทุนทางสังคมกับการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

ผู้แต่ง

  • Jintana Amonsanguansin จินตนา อมรสงวนสิน

บทคัดย่อ

บทความนี้ ได้รวบรวมสรุปการศึกษาทุนทางสังคม ( Social  capital) ที่มีศึกษาแล้วในด้านแนวคิด ความหมาย รูปแบบ แหล่งและการวัดค่า ความสำคัญและการนำทุนทางสังคมไปใช้สนับสนุนการศึกษาและพัฒนาในด้านต่างๆ แม้ว่าจะไม่มีนิยามชัดเจนเป็นมาตรฐาน แต่สามารถสรุปได้ว่าทุนทางสังคมเป็นเรื่องความร่วมมือของคนในชุมชน (cooperation) ซึ่งต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน มีความไว้เนื้อเชื่อใจ (trust) เคารพในกฏและจารีตของชุมชน(Norm) และมีความสัมพันธ์กันในลักษณะเครือข่าย (network) เพื่อนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาและนำไปสู่ผลประโยชน์ร่วมกัน และจากกรณีศึกษา ทุนทางสังคมกับการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ตำบลท่าผาและตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าในพื้นที่ศึกษามีทุนสังคมที่ยังฝังแน่นอยู่ในโครงสร้างของสังคมชนบท  และได้นำมาใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในด้านต่างๆ รวมถึงทรัพยากรมนุษย์เช่น การจัดการป่าชุมชน การใช้น้ำในรูปแบบเหมืองฝาย การใช้ที่ดินแบบไร่หมุนเวียน  การเลี้ยงสัตว์ในป่า และการใช้แรงงานด้านการเกษตร วิถีชีวิตของชุมชนชนบทก่อให้เกิดวิถีปฏิบัติและความไว้วางซึ่งนำไปสู่การเกิดเครือข่ายทางสังคมในรูปแบบต่างๆ ที่ก่อให้เกิดรูปแบบทุนสังคมทั้งแบบ bonding, bridging และ linking social capital นอกจากนี้ทุนทางสังคมยังถูกนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาของชุมชน เช่น ทุนทางสังคมในรูปของเครือข่ายอนุรักษ์ป่าจะถูกนำมาใช้ในการสร้างอำนาจต่อรองกับภาครัฐในเรื่องของการรับรองสิทธิในการใช้ประโยชน์จากป่าของชุมชน เครือข่ายกลุ่มเหมืองฝายจะถูกนำมาใช้ในการจัดการการแย่งชิงทรัพยากรน้ำในหน้าแล้ง

 

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ Viewpoint