ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (GIS for Sustainable Development)
บทคัดย่อ
บทความนี้ได้รวบรวมสรุปผลการศึกษาวิจัยและการใช้งานจริงระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนการวางแผน การตัดสินใจ และการจัดการเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามสาระสำคัญในแผนปฏิบัติการที่ 21 (Agenda 21) โดยให้เกิดความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีด้านการจัดการสารสนเทศเชิงพื้นที่ (geospatial technology) มีเครื่องมือในการวิเคราะห์แก้ปัญหา วางแผน ตัดสินใจและจัดการปัญหาเชิงพื้นที่ที่ซับซ้อน และเมื่อใช้ร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านอินเตอร์เน็ตจะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความได้นำเสนอการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในด้านต่างๆได้แก่ การวางแผนอย่างมีส่วนร่วม การใช้แบบจำลองในการคาดการณ์กระบวนการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม การใช้แบบจำลองย่อย (microsimulationmodel) เพื่อคาดการณ์ผลกระทบด้านเศรษฐกิจสังคมและพื้นที่ในโครงการพัฒนาต่างๆ การวางแผนการพัฒนาเขตเมืองและการจัดการแหล่งที่อยู่อาศัยเทคนิคการสำรวจระยะไกลเพื่อการรวบรวมข้อมูลระบบนิเวศ การวางแผนและการจัดการด้านสาธารณสุข การป้องกันความเสี่ยงและการบรรเทาภัยพิบัติความปลอดภัยในชุมชน การบริหารงานและการบริการภาครัฐ
This article summarizes the research results and experiencesfrom real practice in the Geographic Information System (GIS) as a tool to support planning, decision-making and management leading to sustainable development as the main principle proposed in Agenda 21 in a balance mediation of economic, environmental and social objectives. Geospatial technology provides tools for analysis, planning and decision-making to deal with complex spatial problems. It will effectively enhance the achievement of sustainable development purposes when integrated with Information and Communication Technology (ICT), specifically with internet technology. This article presents various applications of GIS such as collaborative planning, modeling to forecast social and environmental processes, microsimulation models for assessing the socioeconomic effects on various developing projects, urban development planning and settlement management, remote sensing for ecosystem data collection, health care planning and management, risk prevention and hazard mitigation, community safety, and public services and administration.