การค้า การพัฒนาที่ยั่งยืน และเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • Sompote Kunnoot สมพจน์ กรรณนุช

บทคัดย่อ

กระบวนทัศน์การพัฒนาเพื่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านการส่งเสริมการค้ามีจุดอ่อนที่สำคัญคือการละเลยตัวแปรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทำให้ขาดคุณสมบัติของการพัฒนาที่ยั่งยืน แม้ว่าการส่งเสริมการค้าจะทำให้มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่เป็นการเจริญเติบโตเฉพาะส่วน และไม่ใช่การเจริญเติบโตในระดับองค์รวมที่นับรวมตัวแปรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เงื่อนไขของการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สำคัญคือการกำจัดความยากจนให้หมดไป แต่เนื่องจากการส่งเสริมการค้าเกินขอบเขตเป็นกระบวนทัศน์การเจริญเติบโตเฉพาะส่วน ซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียดุลยภาพของระบบนิเวศและการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงทำให้ปัญหาความยากจนยิ่งเลวร้ายกว่าเดิม โดยตัวแปรทรัพยากรธรรมชาติละสิ่งแวดล้อมซึ่งประสบปัญหาเสื่อมโทรมหักล้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยตัวแปรอื่นๆ บางส่วน หรือทั้งหมดหากมีการขยายการค้าในระดับสุดขั้ว การค้าสุดขั้วไม่เท่ากับความยั่งยืนเนื่องจากความยั่งยืนหมายถึง“การอยู่ได้ของระบบนิเวศ” แต่การค้าหมายถึงการถ่ายเทวัตถุสิ่งของและบริการจากพื้นที่ที่สมบูรณ์ไปสู่พื้นที่ขาดแคลน โดยเป็นการถ่ายเทเฉพาะส่วนและปราศจากการเชื่อมโยงกับดุลยภาพของระบบนิเวศของพื้นที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านการค้าระหว่างพื้นที่หรือประเทศมีความเป็นไปได้เมื่อมีการเชื่อมโยงกับดุลยภาพของระบบนิเวศของพื้นที่ เช่นเดียวกับการเจริญเติบโตของระบบนิเวศ การค้าตามกระบวนทัศน์การเชื่อมโยงกับดุลยภาพของระบบนิเวศของพื้นที่จึงเปรียบเสมือนการนำเมล็ดพันธุ์พืชจากพื้นที่หนึ่งไปปลูกในอีกพื้นที่หนึ่งทำให้ทั้งเมล็ดพันธุ์และระบบนิเวศเดิมปรับตัวอย่างกลมกลืนและสามารถรักษาดุลยภาพของระบบนิเวศและมีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนการค้า การพัฒนา และการเจริญเติบโตตามกระบวนทัศน์ “เศรษฐกิจพอเพียง” เท่ากับการพัฒนาที่ยั่งยืน เนื่องจากส่งเสริม “การอยู่ได้ด้วยตัวเองภายในระบบนิเวศ” ระบบนิเวศที่ยั่งยืนมีลักษณะที่สำคัญคือ “การอยู่ได้ด้วยตัวเอง”การค้าตามกระบวนทัศน์ “เศรษฐกิจพอเพียง” คือการค้าที่ส่งเสริมให้มีการผลิตภายในประเทศเพื่อให้คนทุกคนมีงานทำมีรายได้และเจริญเติบโต ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์กำจัดความยากจนหมดสิ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

Author Biography

Sompote Kunnoot สมพจน์ กรรณนุช

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ Viewpoint