การจัดประเภทหมู่บ้านชนบทไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลักษณะของทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม/Classification of Villages in the Rural Northeast of Thailand Based on Natural Resources and Environmental Conditions

ผู้แต่ง

  • Yanawuti Svetthitikun ญาณวุฒิ เศวตธิติกุล
  • Duanpen Theerawanviwat เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดประเภทหมู่บ้านชนบทไทย ในพื้นที่ภาคตะวันออก เฉียงเหนือตามตัวชี้วัดทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากศูนย์ ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชนบท   กรมการพัฒนาชุมชน   กระทรวงมหาดไทย   ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานด้าน เศรษฐกิจและสังคมระดับหมู่บ้าน  (กชช.2ค)  ปี  2550    มีทั้งหมด  31,129  หมู่บ้าน ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้ ทรัพยากรน้ำ แบ่งหมู่บ้านออกมาได้เป็น   3   ประเภท   ได้แก่  ประเภทที่  1  เป็นกลุ่มหมู่บ้านที่ใช้แหล่งน้ำจากระบบน้ำประปาเป็นแหล่งของน้ำบริโภค  น้ำใช้  และ น้ำที่ทำการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 67.9 ประเภทที่ 2 เป็นกลุ่มหมู่บ้านที่ใช้แหล่งน้ำธรรมชาติ คิดเป็นร้อยละ  22.7  และประเภทที่  3  เป็นกลุ่มหมู่บ้านที่ใช้น้ำจากบ่อขุด คิดเป็นร้อยละ 9.4 ทรัพยากรดิน  แบ่งหมู่บ้านออกได้เป็น  2  ประเภท  ประเภทที่  1  เป็นกลุ่มหมู่บ้านที่ไม่มีปัญหาคุณภาพดิน คิดเป็นร้อยละ 46.0 และประเภทที่ 2 เป็นกลุ่มหมู่บ้านที่มีปัญหาเกี่ยวกับดิน คิดเป็นร้อยละ 54.0 สิ่งแวดล้อม สามารถแบ่งหมู่บ้านออกได้เป็น  3  ประเภท  คือ  ประเภทที่  1  เป็นกลุ่มหมู่บ้าน ที่มีความเจริญแล้ว คือ มีไฟฟ้าใช้และมีถนนดีใช้การได้ตลอดทั้งปี คิดเป็นร้อยละ  66.8  ประเภทที่  2  เป็นกลุ่มหมู่บ้านที่มีศักยภาพและรอการพัฒนา คิดเป็นร้อยละ 5.0 และประเภทที่3 เป็นกลุ่มที่เน้นด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ 28.2

The  aim  of  this  study  was  to  classify  rural  villages  in  the  Northeast  of  Thailand  based  on  natural  resource  and  environmental  indicators.  Secondary  data  derived  from the Rural Development Information Center, Community Development Department, Ministry  of  the  Interior,  namely  Village  Based  Socio-Economic  Data  (2007  NRD2C  data)  were  scrutinized.  The  statistical  technique  used  to  analyze  31,129  villages  was  a  Two-steps  Cluster Analysis. The findings were as follows:Water  resources:  the  results  suggested  that  the  Northeast  villages  could  be  classified into 3 types. They were villages using water supply from tap water system (67.9%), villages using natural (underground) water (22.7%),  and villages using private or public wells (9.4%). Soil resources: there were two types of villages, which were those without soil quality  problems (46.0%) and those with soil quality problems (54.0%).The environment: villages could be classified into 3 types, which were developed  villages  (66.8%),  less-developed  but  with  potential  to  be  developed  (5.0%), and villages emphasizing on environmental management (28.2%).

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research