ความรู้ความเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร/Knowledge and Understanding in the Philosophy of Sufficiency Economy of People Domiciliating in Bangkok Metropolitan Area

ผู้แต่ง

  • Silawat Sriswasdi ศีลวัต ศรีสวัสดิ์
  • Tawadchai Suppadit ธวัชชัย ศุภดิษฐ์
  • Sompote Kunnoot สมพจน์ กรรณนุช
  • Pukkapong Poungsuk ภัคพงศ์ ปวงสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาและเปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำผลการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางเผยแพร่แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างของผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครอายุไม่ ต่ำกว่า 15  ปี  จำนวน  400  ราย  ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครมีความรู้ความเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียงระดับปานกลาง  โดยปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติ  ได้แก่  อายุ  สถานภาพสมรส ลักษณะครอบครัว สถานะของการอยู่อาศัย ระยะเวลาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานคร ระดับการศึกษา พื้นฐานการศึกษา อาชีพ ประสบการณ์ทำงาน การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รายได้เฉลี่ยต่อเดือน การออมเงิน และการบริจาคทรัพย์เพื่อสาธารณประโยชน์ ข้อเสนอแนะ คือ ภาครัฐควรให้ข้อมูลข่าวสารปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้มีหลักสูตรและเขียนตำรา/หนังสือเรียนควบคู่กับพัฒนารูปแบบให้น่าสนใจ มากขึ้น  เพื่อเข้าถึงประชาชนทุกลำดับชั้น  เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ถูกต้อง

The objectives of this research were to study and compare the level of knowledge and understanding which associated in the Philosophy of Sufficiency Economy in order to share  proper  understanding  and  guidelines  to  introduce  perspectives  on  Philosophy  of Sufficiency Economy.  The samples were made on a group of 400 Bangkok residences, aged 15 and above during the period from January to April 2009. This  research  found  that  people  domiciliating  in  Bangkok  Metropolitan  area  had a  medium  level  of  knowledge  and  understanding  in  the  Philosophy  of  Sufficiency Economy. Significant factors were age, marital status, family type, household occupancy status, length  of  time  since  the  person  has  been  in  Bangkok,  educational  level,  educational  background,  occupation,  years  of  work  experience,  information  of  the  Philosophy of  Sufficiency  Economy, average  income  per  month,  money  saving,  and  donation  for public use. Recommendation  from  this  research  was  that  the  government  should  provide more information  about  Philosophy  of  Sufficiency  Economy  by  establishing  courses  or curriculums through the textbooks and making the content interesting and comprehensible for every group of people.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research