พลวัตของธาตุอาหารพืช ยูโทรฟิเคชั่น และเมตาบอลิซึมของระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย/Nutrient Dynamics, Eutrophication and Ecosystem Metabolism in Thalenoi Wetland

ผู้แต่ง

  • Atsamon Limsakul อัศมน ลิ่มสกุล
  • Wutthichai Pangkaew วุฒิชัย แพงแก้ว
  • Boonchob Suttamanuswong บุญชอบ สุทธมนัสวงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาพลวัตของธาตุอาหารพืช ยูโทรฟิเคชั่น และอัตราเมตาบอลิซึมของระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ในปี พ.ศ. 2550 เป็นการศึกษาพลวัตของธาตุอาหารพืชและการเปลี่ยนแปลงของอัตราเมตาบอลิซึมของ ระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยที่ส่งผลทำให้เกิดสภาวะยูโทรฟิเคชั่นโดย ดำเนินการศึกษา 2 ช่วง คือ ในฤดูแล้ง (มีนาคม - กรกฎาคม พ.ศ. 2550) ในฤดูฝน (สิงหาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2550) พบว่า ทะเลน้อย กำลังประสบปัญหาหลักๆ อยู่สองประการ คือ ความเสื่อมโทรมของคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสภาวะยูโทรฟิเคชั่น มีสาเหตุหลักเกิดจากมลพิษจากแหล่งต่างๆที่ระบายลงสู่ทะเลน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมลพิษจากแหล่งกำเนิดที่ทราบตำแหน่งแน่นอนและจากแหล่ง กำเนิดที่ไม่ทราบตำแหน่งที่แน่นอนในบริเวณพื้นที่รับน้ำโดยรอบ ผลการวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชและอัตราเมตาบอลึซึม ยังพบว่า ธาตุฟอสฟอรัส เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อพลวัตของกระบวน-การยูโทรฟิเคชั่น โดย ร้อยละ 60.0 ความแปรปรวนของคลอโรฟิลล์ เอ สามารถอธิบายได้ด้วยความแปรปรวนของธาตุฟอสฟอรัสรวม ความสัมพันธ์ดังกล่าวสอดคล้องกับสัดส่วนของธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสใน รูปอนินทรีย์ (DIN : DIP Ratio) ที่แสดงว่า ธาตุฟอสฟอรัส เป็นปัจจัยจำกัดต่อการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืช (แพลงก์ตอนพืชที่พบมีทั้งหมด 7 ไฟลัม 59 สกุล) รวมทั้งสิ่งมีชีวิตขั้นปฐมภูมิอื่นๆ ส่งผลให้ระบบนิเวศในทะเลน้อย กลายเป็นระบบที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยธาตุไนโตรเจน แต่ขาดแคลนธาตุฟอสฟอรัส ผลการตรวจวัดเมตาบอลิซึมของระบบนิเวศ ยังแสดงให้เห็นว่า การย่อยสลายสารอินทรีย์จากแหล่งภายนอกด้วยกระบวนการหายใจ เป็นลักษณะที่โดดเด่นของระบบนิเวศทะเลน้อยในภาพรวม ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงความเสื่อมโทรมและการถูกรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์และทำให้ ระบบมีการใช้ออกซิเจนในกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ระบายลงสู่ทะเลน้อย ในอัตราที่สูงกว่าปกติปัญหาทั้งสองด้านที่ทะเลน้อยกำลังประสบนี้ มีการเชื่อมโยงและปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ผ่านทางกระบวนการชีวธรณีเคมีระหว่างองค์ประกอบที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งจะส่งผลกระทบที่สลับซับซ้อนต่อสมดุลและกระบวนการเมตาบอลิซึมของระบบ นิเวศ และส่งเสริมให้สถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน มีแนวโน้มที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในอนาคตอันใกล้โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ ซึ่งจะเป็นปัจจัยกำหนดที่ส่งผลโดยตรงต่อความสมดุลของกระบวนการชีวธรณีเคมี และความเสถียรของระบบนิเวศ

The study on nutrient dynamics, eutrophication and ecosystem metabolisms of the Thalenoi Wetland (TNW) in 2007 indicated that TNW was facing with two major problems--environmental degradation and eutrophication. These changes were resulted primarily from land-based pollution from a variety of human activities especially both point and non-point sources in the watershed. The results from analysis of nutrient and plankton biomass further suggested that phosphorus was one of important factors controlling eutrophication dynamics in TNW, as 60% of phytoplankton biomass variance could be explained by variability of total phosphorus. This finding was consistent with DIN : DIP Ratio, illustrating that phosphorus was primarily a limited nutrient for primary productivity in TNW. On the basis of ecosystem metabolism measurement, TNW was dominated by community respiration to decompose organic matter from allochthonous sources, resulting in dissolved oxygen being used in the higher rate. This ecosystem-metabolism characterization provided the clue of the already degraded and affected system. From ecological point of view, two major problems in the TNW were closely linked and interacted via biogeochemical processes and ecosystem metabolisms which exert complex and synergic effects on the structure and function of the whole ecosystem. These would be intensified under a changing climate and a rising temperature which were significant threats to biogeochemical dynamics and ecosystem re

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research