แนวทางการวางแผนพลังงานชุมชนอย่างยั่งยืนของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Wisakha Phoochinda วิสาขา ภู่จินดา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวางแผนพลังงานชุมชนเป็นนโยบายของภาครัฐที่จะให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้โดยใช้พลังงานทางเลือก  การวางแผนพลังงานชุมชนในประเทศไทยประสบความสำเร็จในระดับปานกลางโดยบางชุมชนสามารถลดรายจ่ายด้านพลังงาน มีการผลิตพลังงานใช้เอง มีการใช้พลังงานอย่างประหยัด และมีศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงาน แต่ทั้งนี้ยังขาดการดำเนินการอย่างต่อเนื่องของบางชุมชน เพราะแผนพลังงานชุมชนได้ให้การสนับสนุนในตอนแรกและพยายามจะให้ชุมชนพึ่งตนเองให้ได้ แต่ก็ยังมีปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ คือ การไม่ให้ความสำคัญกับการวางแผนพลังงานชุมชนในระดับนโยบาย ผู้นำชุมชนและประชาชนในชุมชนยังไม่เห็นถึงความสำคัญของการวางแผนพลังงานชุมชน การขาดการสนับสนุนอย่างถูกต้องทั้งในด้านงบประมาณและทรัพยากร และการไม่ปรับการวางแผนพลังงานชุมชนตามบริบทหรือรูปแบบของชุมชน ซึ่งแนวทางในการวางแผนพลังงานชุมชนในอนาคตนั้น สามารถใช้ 10 กระบวนการตามที่ภาครัฐกำหนดแต่ควรมีการวิเคราะห์ความต้องการที่แท้จริงของชุมชน รวมถึงทรัพยากรที่มีในชุมชน ความสามารถในการบริหารจัดการพลังงานเพื่อผลิตพลังงานใช้ในชุมชนและการประหยัดพลังงานที่เหมาะสมกับสภาพของชุมชน ทั้งนี้การเก็บรวบรวมข้อมูลผลที่ได้รับของการวางแผนพลังงานชุมชนเพื่อเป็นข้อมูลให้ทางชุมชนทราบก็มีความจำเป็น

คำสำคัญ : พลังงานชุมชน; การวางแผน; การบริหารจัดการพลังงาน

Abstract

      Community energy planning is a policy laid down by the Thai government with the main purpose of increasing the use of alternative energy, such as renewable energy. In Thailand, the success of community energy planning was found to be at a moderate level, as it results in the reduction of energy expenses, self-production of energy for consumption in the community, more prudent use of energy, and the setup of energy study centers. However, there are some problems and obstacles in community energy planning including lack of continuation in energy management because  support is provided only during the initial phases with a view to promoting the community’s self-support; not enough importance given to community energy planning at the policy level; lack of awareness of the importance of  community energy planning on the part of the leaders and people in the community; lack of appropriate support with funds and resources; and failure to adjust community energy planning to suit the community’s context. The ten processes in community energy planning, as proposed by the government, can be used as guidelines in the future. Prior to that, however, it is advisable that the community’s actual needs be analyzed, as well as available resources, capacity for the management of energy self- production, and appropriate means to save energy. Also important is data collection of the results of community energy planning so that the community can be informed. 

Keywords: Community Energy; Planning; Energy Management

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ Viewpoint