การจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • Pattamaporn Suttiprasert ปัถมาภรณ์ สุทธิประเสริฐ
  • Chamlong Poboon จำลอง โพธิ์บุญ
  • Wisakha Phoochinda วิสาขา ภู่จินดา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบรรเทาปัญหา และการปรับตัวต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร และสังเคราะห์บทเรียนเพื่อเป็นแนวทางสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ พื้นที่ที่ศึกษาคือ เทศบาลนครสมุทรสาคร และองค์การบริหารส่วนตำบลโคกขาม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ร่วมกับการสังเกตการณ์ในพื้นที่ และการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาใน 4 มิติ ซึ่งประยุกต์จากเทคนิค Balanced Scorecard (BSC) พบว่า 1) ด้านประสิทธิผล เทศบาลนครสมุทรสาคร ประสบผลสำเร็จดีในการดำเนินโครงการด้านการปรับตัว (Adaptation) แต่โครงการด้านการบรรเทาปัญหา (Mitigation) ยังไม่ปรากฏผลสำเร็จชัดเจน ส่วนองค์การบริหารส่วนตำบลโคกขามประสบผลสำเร็จดีในการดำเนินโครงการด้านการบรรเทาปัญหา แต่โครงการด้านการปรับตัวยังไม่มีผลสำเร็จที่ชัดเจนนัก 2) ด้านกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนในพื้นที่เทศบาลนครสมุทรสาครส่วนใหญ่พึงพอใจกับผลงานของเทศบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการป้องกันและเฝ้าระวังเหตุการณ์น้ำท่วม ส่วนประชาชนในพื้นที่ตำบลโคกขามส่วนใหญ่พึงพอใจกับผลงานขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกขาม โดยเฉพาะโครงการจัดการพลังงานชุมชน และกิจกรรมปลูกป่าชายเลน 3) ด้านการบริหารจัดการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 2 แห่ง มีการกำหนดหน่วยงานผู้รับผิดชอบ และมีการจัดทำนโยบาย แผนงาน และโครงการ จัดสรรงบประมาณ มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างครอบคลุม 4) ด้านการเรียนรู้และพัฒนา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 2 แห่ง มีการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคลากร รวมทั้งการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจของประชาชน โดยเทศบาลนครสมุทรสาครมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการป้องกันและเผ้าระวังเหตุการณ์น้ำท่วม

คำสำคัญ: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ; การบรรเทาปัญหา; การปรับตัว; องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Abstract

This study aimed to examine the mitigation and adaptation to climate change problems of local authorities in Samut Sakhon province and to synthesize lessons for other local authorities. The study areas were Samutsakhon Municipality and Khok Kham Sub-district Administration Organization (SAO). Data were collected by in-depth interviews, observations in the area, and reviews of related documents. The study results according to 4 perspectives of the Balanced Scorecard (BSC) were: 1) the effectiveness perspective: Samutsakhon Municipality was quite successful in the implementation of adaptation projects, yet, there was no evident success in the mitigation projects. On the other hand, Khok Kham SAO mad achivements in the implementation of mitigation projects, while there was no concrete result from the adaptation projects; 2) target perspective: most local people in Samutsakhon  Municipality were satisfied with the work of the municipality, particularly regarding flood prevention and surveillance. The majority of residents in Khok Kham were satisfied with the performance of their local government regarding community energy projects and mangrove forest planting; 3) management perspective: both local authorities have assigned responsible units, prepared  policies, plans and projects, allocated the budget, and monitored all projects; 4) learning and development perspective: both local authorities developed their staff’s knowledge and competency, as well as local people’s knowledge. In addition, Samutsakhon Municipality adopted information technology for management of the flooding problem.

Keywords: Climate Change; Mitigation; Adaptation; Local Authorities

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research