การมีส่วนร่วมของประชาชนในป้องกันและแก้ไขมลพิษทางอากาศจากหมอกควันในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • Natchaya Unthongdee ณัฐชยา อุ่นทองดี
  • Chutarat Chompunth จุฑารัตน์ ชมพันธุ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ   

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุ การมีส่วนร่วมของประชาชน ปัจจัยความสำเร็จและปัญหา/อุปสรรค และเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขมลพิษทางอากาศจากหมอกควันในจังหวัดแม่ฮ่องสอน  โดยมลพิษทางอากาศจากหมอกควันเกิดจากการเผาในที่โล่ง ลักษณะภูมิประเทศและมลพิษทางอากาศจากประเทศใกล้เคียง ผลการศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมพบว่า  ประชาชนส่วนใหญ่เข้าถึงข้อมูลได้  มีความโปร่งใส ครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียแต่บุคลากรและงบประมาณไม่เพียงพอ และมีส่วนร่วมรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินงาน/ปฏิบัติ  บางส่วนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น แต่ไม่มีส่วนร่วมวางแผน ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมที่เป็น 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ความตระหนักและจิตสำนึก ความรู้ความเข้าใจ และผลกระทบของมลพิษทางอากาศจากหมอกควัน 2) ปัจจัยด้านการจัดการ ได้แก่ ศักยภาพของผู้นำชุมชนและการสนับสนุนจากภาครัฐ ปัญหา/อุปสรรคของการมีส่วนร่วมที่เป็น
1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ความแตกต่างทางภาษา การไม่มีเวลา และการไม่ได้รับข้อมูลข่าวสาร 2) ปัจจัยเชิงโครงสร้าง/ การบริหารของภาครัฐ ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร การเดินทาง และขาดความต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการมีส่วนร่วม คือ การสร้างความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก และการส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตร เพื่อให้ประชาชนเปิดใจยอมรับการดำเนินงานของภาครัฐ และรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียอื่น   

คำสำคัญ: กระบวนการมีส่วนร่วม หมอกควัน การเผาในที่โล่ง มลพิษทางอากาศ 

 

Abstract  

This research aims to study the causes of haze air pollution in Mae Hong Son Province in Thailand and discusses public participation in preventing haze air pollution there. Methods for public participation in the prevention and mitigation of haze air pollution are proposed. The research is a qualitative study that obtained data through semi-structured interviews and documents. It was found that the causes of haze air pollution in Mae Hong Son were open burning, geographical characteristics, and air pollution from neighboring countries. Regarding the public participation process, it was revealed that the processes were transparent and all stakeholders were involved; however, it was also found that the staff and budget were not sufficient.  Most of the people however were able to access all of the necessary data, and most of them could share information and play an important role in the public participation process regarding air pollution mitigation. The success factors influencing the public’s participation were: 1) personal factors: awareness and acknowledgement of the problem, recognition of the importance of participation, and realization of hazardous haze air pollution; and 2) management actors: the ability of the community leaders and support from the state. The factors that were obstacles were the following: 1) personal factors: language differences, lack of time, and lack of knowledge; and 2) structural/managerial factors: communication, transportation, and the lack of continuous implementation. Suggestions for people’s participation are presented, including the following: the encouragement of people’s participation, imparting knowledge and understanding, development of agricultural technology, and the people’s acceptance of the state’s implementation of its prevention and solution measures, as well as the willingness to listen to the opinion of other stakeholders.

Keywords: Public participation; Haze; Open Burning; Air Pollution; Mae Hong Son Province

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research