การวางผังแม่บทและออกแบบพื้นที่สีเขียวภายนอกอาคารเพื่อการควบคุมสภาพอากาศที่เอื้อต่อความสะดวกสบายของมนุษย์: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้
DOI:
https://doi.org/10.14456/jesm.2024.10คำสำคัญ:
การวางผังแม่บท, พื้นที่สีเขียว , สภาวะน่าสบายของมนุษย์ , การออกแบบภูมิทัศน์บทคัดย่อ
การศึกษานี้มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่สีเขียวของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทรงพุ่มของไม้ยืนต้นและประสิทธิภาพในการสกัดกั้นรังสีดวงอาทิตย์ พร้อมวิเคราะห์สัดส่วนพื้นที่ร่มเงาต่อพื้นที่สิ่งปกคลุมผิวพื้นในบริเวณต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย และกำหนดแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์ที่เหมาะสม ผลการศึกษาพบว่า ไม้ยืนต้นจำนวน 36 ต้น มีทรงพุ่ม 15 ลักษณะ ส่วนใหญ่เป็นทรงพุ่มหนาแน่นปานกลาง มีระดับการสกัดกั้นรังสีระหว่างร้อยละ 58.91-77.89 และปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ใต้ต้นไม้เฉลี่ยที่ร้อยละ 65.1 ซึ่งสูงกว่าค่าที่มนุษย์รู้สึกสบาย เมื่อเปรียบเทียบอุณหภูมิอากาศเหนือสิ่งปกคลุมผิวพื้นกับใต้ต้นไม้ พบว่าพื้นที่รอบหอพักนักศึกษามีอุณหภูมิสูงที่สุด ในขณะที่พื้นที่ส่วนบริหารมีสัดส่วนพื้นที่ร่มเงามากที่สุด อย่างไรก็ตาม พบว่ามี 4 พื้นที่ที่สัดส่วนของพื้นที่ร่มเงาต้นไม้ใหญ่น้อยกว่าพื้นที่สิ่งปกคลุมผิวพื้น โดยเฉพาะคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม และคณะผลิตกรรมการเกษตร ซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่าระดับที่มนุษย์รู้สึกสบาย การออกแบบภูมิทัศน์ควรคำนึงถึงความโปร่งโล่ง ร่มรื่น การถ่ายเทอากาศ รวมถึงเพิ่มพื้นที่สีเขียวและตัดแต่งต้นไม้เพื่อควบคุมอุณหภูมิและเพิ่มความสบายในมหาวิทยาลัย
References
Angelo, H., & Wachsmuth, D. (2020). Why does everyone think cities can save the planet? Urban Studies, 57(11), 2201-2221.
Boonkham, D. (1996). Site planning. Bangkok: Chulalongkorn University.
Boonyathikarn, S. (1999). Energy Efficient Home for Better Quality of Life: Design Techniques (1st ed). Bangkok: Property Market.
Davidson, M. (2010). Sustainability as ideological praxis: The acting out of planning’s master signifier. City, 14(4), 390–405.
Gamal, A., Abo Eleinen, O., Eltarabily, S., & Elgheznawy, D. (2023). Enhancing urban resilience in hot humid climates: A conceptual framework for exploring the environmental performance of vertical greening systems (VGS). Frontiers of Architectural Research, 12(6), 1260–1284.
Gardner, S., Sitthisunthorn, P., & Anusarnsoonthon, W. (2006). Ton mai muang nue [Northern city tree]. Bangkok: Publishing Project Kob Fire Press.
Qadourah,J.A. (2024). Energy efficiency evaluation of green roofs as a passive strategy in the Mediterranean climate. Results in Engineering, 23, 102519–102519.
Kongboontiam, P., & Puraprom, W.,. (2015). Guidelines for Reducing Air Temperature Using Effects of Ground Cover. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 29, 321-334.
Planning Division Maejo University. (2013). Development Strategy Maejo University 15 years (B.E.2555-2569). ChiangMai: Maejo University.
Siripanich, J. (2015). Fundamental Landscape. Nakhonpathom: Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus.
Stein, B., & Reynolds, J. S. (2000). Mechanical and electrical equipment for buildings (9th ed.). New York: John Wiley & Sons.
Zhu, S., Yang, Y., Yan, Y., Causone, F., Jin, X., Zhou, X., & Shi, X. (2022). An evidence-based framework for designing urban green infrastructure morphology to reduce urban building energy use in a hot-humid climate. Building and Environment, 219, 109181.