ความอ่อนแอของการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากน้ำมันรั่ว

ผู้แต่ง

  • Thitisak Wechakama ฐิติศักดิ์ เวชกามา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การเกิดน้ำมันรั่วกลางทะเลที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ.2013 ของบริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน) ได้สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อสภาพแวดล้อม แหล่งอาหาร ธุรกิจการท่องเที่ยวทรัพยากรและระบบนิเวศในทะเลอ่าวไทยไปอีกหลายสิบปี ทำให้มีหลายหน่วยงานเข้ามาตรวจสอบ เรียกร้องความเป็นธรรม ความรับผิดชอบถึงปริมาณที่แท้จริงของน้ำมันดิบที่รั่วไหลสู่ทะเล ชนิดปริมาณของสารเคมีที่ใช้ในการสลายคราบน้ำมัน ผลกระทบและอันตรายจากน้ำมันดิบที่รั่วไหล ขั้นตอนในการป้องกันและระงับเหตุเพื่อลดผลกระทบ ถึงแม้จะสามารถกำจัดน้ำมันและทำความสะอาดบริเวณที่ได้รับผลกระทบแล้วก็ตาม เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่เกิดจากการรั่วไหล หรือแพร่กระจายของมลพิษจนก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย สุขภาพอนามัย หรือทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ว่าจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่ก็ตาม การชดใช้ค่าเสียหายในการขจัดมลพิษที่เกิดขึ้นบางส่วนอาจนำหลักการทาง เศรษฐศาสตร์เข้ามาช่วยในการคำนวณตามหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ไม่จำเพาะแต่มูลค่าของทรัพยากรที่สูญเสียไปเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศ และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพด้วย

 คำสำคัญ: น้ำมันรั่ว; เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม; การคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

 

Abstract

           The oil spill in the sea near the  Mabtapud coast of Rayong Province On July 27, 2013, made by PTT Global Chemical Public Company Limited has  caused severe damage to the environment, food supply, tourism, natural resources, and ecosystem in the Gulf of Thailand. Since the impact can be felt for several decades to come, many agencies have come for inspection and called for justice and the company’s responsibility in this matter, including revealing the actual amount of crude oil spilled into the sea, the type and amount of chemicals used to get rid of oil slick, the impact and danger of crude oil spilled into the sea, and the steps taken to prevent and to minimize the impact. Although it has managed to get rid of the oil and has already cleaned the affected area, the company, as the polluter, is liable to pay compensation for damage as the result of oil leak or spread of pollution causing harm to others’ lives, physical health or property—whether the spill has been attributed to intention or negligence. Moreover, it must pay for the removal of pollutants. Certain economic principles must be based on in calculating the amount of compensation which the polluter is liable to pay, as the business operator must be responsible for the society and the environment. That is, the compensation must cover the cost of damaged resources and the impact on the ecosystem and the loss of biodiversity.  

 

Keywords: Oil Spill; Environmental Economic; Natural Resources and Environmental Protection

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ Viewpoint