ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ มาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่ 1 ใน 18 เขตควบคุมมลพิษของประเทศไทย โดยเป็นการวิจัย เชิงปริมาณ ที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชาชนในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ที่มีคุณสมบัติเป็นหัวหน้าครัวเรือน และอาศัยอยู่ในพื้นที่ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งหมด 120 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว (Face to Face Interview) และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสำคัญ 4 ด้านหลัก ซึ่งประกอบด้วย ด้านที่อยู่อาศัย ด้านเศรษฐกิจ-ด้านสังคม ด้านสภาพแวดล้อม และด้านสุขภาพอนามัย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความพึงพอใจโดยรวมต่อคุณภาพชีวิต ในปัจจุบันของประชาชนในพื้นที่มาบตาพุด และสามารถร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจโดยรวมต่อคุณภาพชีวิตในปัจจุบันได้ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 จากนั้นนำมาคำนวณค่าดัชนีคุณภาพชีวิต (Quality of Life Index) ของประชาชนในพื้นที่มาบตาพุด พบว่ามีค่าเท่ากับ 69.83 (จากคะแนนเต็ม 100.00) ซึ่ง หมายความว่า ประชาชนในพื้นที่มาบตาพุด มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างปัจจัย 4 ด้าน จะเห็นว่าแต่ละปัจจัยมีผลต่อความพึงพอใจโดยรวมต่อคุณภาพชีวิตในปัจจุบันของประชาชนในพื้นที่ อยู่ในระดับที่แตกต่างกันไม่มากนัก ดังนั้น หากต้องการพัฒนาระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ มาบตาพุดให้สูงขึ้น หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง อาจจะต้องทำการพัฒนาและปรับปรุงปัจจัยทั้ง 4 ด้านไปพร้อม ๆ กัน
คำสำคัญ: คุณภาพชีวิต; มลพิษ; เขตควบคุมมลพิษ
Abstract
The purpose of this research is to study the key factors affecting the quality of life in the population in the Maptaphut area, Rayong Province, which is 1 of 18 pollution-control areas in Thailand. This study is of a quantitative research design, and data were collected from the heads of households and residing in the area for over one year for a total of 120 people. A face-to-face interview method and Multiple Regression Analysis Statistics were used in the study.
The study findings revealed that all 4 factors—Residence, Economy-Society, Environment, and Health and Sanitation—had a positive relation with the overall satisfaction with the quality of life of the population in terms of their current living. The study was also able to forecast the participants’ overall satisfaction with their quality of life in relation to their current living at a significantly, dramatically high statistical level of 0.001. Then, the calculation of the quality of life index of the population in the Maptaphut area which was 69.83 (from a total of 100) meant that the quality of the life of the population was at a moderate level. When comparing the 4 factors, it was seen that each factor influenced the overall satisfaction of quality of life of the population regarding their current living at a similar level. If the intention is to improve the quality of life of the population in the Maptaphut area, the relevant agencies have to solve and improve all 4 factors.
Keywords: Quality of Life; Pollution; Pollution Control Area