รูปแบบการพัฒนาและการจัดการพื้นที่พักแรมด้วยรถบ้านในอุทยานแห่งชาติของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วชิราภรณ์ เชื้อชา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นภวรรณ ฐานะกาญจน์ พงษ์เขียว คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุภัทรา ถึกสถิตย์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jem.2023.5

คำสำคัญ:

อุทยานแห่งชาติ, พื้นที่พักแรมด้วยรถบ้าน, สภาพแวดล้อมทางกายภาพ, ผู้ประกอบกิจกรรมพักแรมด้วยรถบ้าน, แบบแนวคิดในการพัฒนาทางกายภาพ

บทคัดย่อ

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่พักแรมด้วยรถบ้านในอุทยานแห่งชาติของประเทศไทย 2) ศึกษาแรงจูงใจ ประสบการณ์ที่ได้รับและความพึงพอใจของผู้ประกอบกิจกรรมพักแรมด้วยรถบ้าน และ 3) นำเสนอรูปแบบที่เหมาะสมของการพัฒนาและจัดการพื้นที่พักแรมด้วยรถบ้านในอุทยานแห่งชาติของประเทศไทย ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลผู้ประกอบกิจกรรม จำนวน 280 คน จากพื้นที่อุทยานแห่งชาติตัวแทน 4 แห่ง ผลการศึกษาในภาพรวมพบว่า สภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่พักแรมด้วยรถบ้านในอุทยานแห่งชาติตัวแทนมีความเหมาะสมในระดับต่ำทั้ง 4 แห่ง ประเภทรถบ้านที่พบส่วนใหญ่เป็นรถบ้านประเภทมอเตอร์โฮมแบบพับ ผู้ประกอบกิจกรรมส่วนใหญ่มีความต้องการพักผ่อนในบรรยากาศที่สงบ ให้ความสำคัญกับการได้รับอากาศบริสุทธิ์ และมีความต้องการความเป็นส่วนตัวในการประกอบกิจกรรม ลักษณะของพื้นที่พักแรมที่ผู้ประกอบกิจกรรมส่วนใหญ่พึงพอใจมากที่สุด คือ แคมป์พักแรมด้วยรถบ้านแบบเดี่ยว ผลการศึกษานำมาซึ่งข้อเสนอแนะในการปรับปรุงพื้นที่พักแรมด้วยรถบ้าน แบบแนวคิดในการพัฒนาทางกายภาพ และข้อเสนอแนะในการจัดการที่สามารถนำไปใช้ในอุทยานแห่งชาติทั้งที่เป็นพื้นที่ศึกษาและพื้นที่อุทยานแห่งชาติอื่น ๆ ของประเทศไทย

References

Bell, S. (1997). Design for Outdoor Recreation. London: E & FN Spon.

Choomket, S. (2017). Guidelines of Facilities Design for All in Nation Park [In Thai]. Unpublished Doctoral thesis, Kasetsart University.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. 3rd Edition. New York: John Wiley & Sons.

Department of National Park, Wildlife and Plant Conservation. (2022). Tourist statistics [In Thai]. Retrieved November 15, 2022, from https://catalog.dnp.go.th/dataset/stat-tourism

Department of National Park, Wildlife and Plant Conservation. (2022). Tourist statistics [In Thai]. Retrieved March 21, 2023, from https://catalog.dnp.go.th/dataset/stat-tourism

Department of Tourism, (2007). Camping [In Thai]. Retrieved November 20, 2022, from https://thaits.avalue.co.th/services/uploads/standard/document/files_01042019192404/1554121446211c.pdf

Douglass, R.W. (1982). Forest recreation. Pergamon Press Inc., the United States of America.

George, E. F. (1997). Park planning guidelines 3rd edition. National Recreation & Park Association, the United States of America.

History cooperative. (2019). The History of RVs. Retrieved November 24, 2022, from https://historycooperative.org/the-history-of-rvs/

Kanchana, J. (2008). Analysis of Recreation Patterns and Recreation Experiences of Visitors to Nature-based Recreation Area in Mae Hong Son Province [In Thai]. Unpublished Master’ s thesis, Kasetsart University.

Krisana, K. (2017). Recreation Motivation and Factors Affecting the Decision of Tourists in Revisiting Huai Mae Klamin Waterfall, Khuean Srinagarindra National Park [In Thai]. Unpublished Master’ s thesis, Kasetsart University.

Nunnally, J., & Bernstein, L. (1994). Psychometric Theory (3rded.). New York: McGraw Hill.

Onuma, T. (2017). Visitors’ Opinions toward Tourism Development in Pha Wang Nam Khiao-PhaKhao Phu Luang Forest Reserve Tourism Network, Nakhon Ratcasima Province [In Thai]. Unpublished Master’ s thesis, Kasetsart University.

Park Canada. (1992). Camping Manual. The Minister of the Environment. Canada.

Ronnayoot, J. (2016). Tour of Thai National parks by RV [In Thai]. Bangkok: Prachoomchang Publishing.

Rungfa, S. (2018). Behavior and Motivation of Thai Tourists Visiting Khao Yai National Park, Pakchong Cistrict, Nakhon Ratchasima [In Thai]. Unpublished Master’ s thesis, Bangkok University.

Siwaporn, S. (2012). Appropriate Pattern of Tent Camping in National Park [In Thai]. Unpublished

Master’ s thesis, Kasetsart University.

Tanakanjana, N., Chettamart, S., Emphandhu, D., Pitchakum, N., Singhavorawut, S., Termtrakul,

L. & Rachkiti, S. (1998). Manual for Ecotourism Facility Design and Development [In Thai]. Forestry Research Center, Faculty of Forestry, Kasetsart University.

Tanakanjana, N., Arunpraparut, W., Pongpattananurak, N., Nuampukdee, R., & Chumsangsri, T. (2005). Decision Support System for Sustainable Management Planning of Nature-based Recreation Area Phase I [In Thai]. Faculty of Forestry, Kasetsart University.

Tanin, S. (2020). Research and statistical analysis with SPSS and AMOS [In Thai]. Nonthaburi: S.R. Printing Massproducts Company Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

How to Cite

เชื้อชา ว., ฐานะกาญจน์ พงษ์เขียว น., & ถึกสถิตย์ ส. (2023). รูปแบบการพัฒนาและการจัดการพื้นที่พักแรมด้วยรถบ้านในอุทยานแห่งชาติของประเทศไทย. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน, 19(1), 90–109. https://doi.org/10.14456/jem.2023.5

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research