แนวทางการบริหารจัดการพลังงานทดแทน ในระดับชุมชนของประเทศไทย Guidelines for Renewable Energy Management in Community of Thailand
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการพลังงานทดแทนระดับชุมชนในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย และวิเคราะห์ปัจจัยด้านกายภาพ ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งด้านบริหารจัดการที่มีผลต่อการบริหารจัดการพลังงานทดแทนในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย รวมทั้งเพื่อเสนอการบริหารจัดการพลังงานทดแทนในระดับที่เหมาะสมของประเทศไทย โดยเลือกผู้ตอบแบบสอบถามแบบเจาะจงเป็นเจ้าหน้าที่พลังงานจังหวัดของทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย (76 จังหวัด) ได้รับการตอบกลับมาทั้งสิ้น 62 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 81.58 การวิเคราะห์ผลการศึกษาใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่าสถานการณ์การจัดการพลังงานทดแทนระดับชุมชน พลังงานจังหวัดมีการนำพลังงานทดแทนมาใช้ภายในชุมชนทุกจังหวัด พบว่าทุกภาคของประเทศไทยมีการใช้พลังงานทดแทนมากที่สุดเหมือนกัน คือ พลังงานชีวมวล และรองลงมาเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ ส่วนพลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานขยะ และก๊าซชีวภาพมีการเลือกใช้แต่มีจำนวนน้อย ทางกายภาพ ปัจจัยทางภูมิประเทศให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทนที่มีวัตถุดิบที่อยู่ใกล้แหล่งผลิต และให้ปริมาณผลผลิตเพียงพอ พร้อมทั้งพิจารณาถึงคุณภาพ/คุณสมบัติที่เหมาะสมของวัตถุดิบกับเทคโนโลยีและลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่วนในด้านการขนส่งมีผลต่อการเลือกใช้พลังงาน ในทางสังคมและวัฒนธรรมพบว่าปัจจัยทางด้านสภาพความเป็นอยู่ ความเชื่อ ค่านิยมมีส่วนช่วยสนับสนุนแนวคิดการเลือกใช้พลังงาน ส่วนทางเศรษฐกิจพบว่ารายจ่าย รายรับ อาชีพและการรวมกลุ่ม รวมทั้งการนำเข้าพลังงานมีผลต่อการเลือกใช้ รวมทั้งทางด้านการบริหารจัดการ บุคลากรที่มีจำนวนเพียงพอและมีความรู้ความเข้าใจก็มีผลต่อการเลือกใช้พลังงาน ส่วนด้านงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อความต้องการ มีการขอสนับสนุนเพิ่มเติมจากภาครัฐ ภาคเอกชนและแหล่งเงินทุนอื่นๆ รวมทั้งขั้นตอนการมีส่วนร่วมนั้นแต่ละขั้นตอนมีผลต่อการเลือกใช้ประเภทของพลังงานทดแทนแตกต่างกันไปตามพื้นที่ ส่วนในด้านของการควบคุม กำกับดูแล การติดตามประเมินผลและในด้านของความรู้ความเข้าใจของประชาชนและการนำวิทยากรมาให้ความรู้ทุกภาคคิดว่ามีผลต่อการเลือกใช้พลังงาน ดังนั้นแนวทางการบริหารจัดการพลังงานทดแทนในระดับประเทศไทยควรเริ่มต้นจากชุมชนในจังหวัด แล้วค่อยๆ ขยายต่อไปเรื่อยๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงที่เหมาะสมและมีวัตถุดิบเพียงพอ พร้อมทั้งประชาชนต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานทดแทนและให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทุกขั้นตอน เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้ประชาชนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของพลังงานในชุมชนของตนเอง
คำสำคัญ: พลังงานชุมชน; การบริหารจัดการพลังงาน; การใช้พลังงานทดแทน
Abstract
This study aimed to investigate the renewable energy management in communities in each region of Thailand; to analyze physical factors, social and cultural factors, and management factors that affected the renewable energy management; and to recommend some appropriate measures for managing renewable energy in communities in Thailand. A questionnaire was used to collect the data from seventy-six regional energy officers—one from each province. However, only sixty-two copies of the questionnaire or 81.58% were returned. The descriptive statistics, i.e. frequency, percentage and mean, was used to describe the data. The results showed that different types of renewable energy were used in communities in all provinces in Thailand. Biomass was the most used renewable energy for all regions, following by solar energy, while hydro energy, wind energy, garbage energy, biogas, as well as geothermal energy were used in small quantities. With regard to physical factors, geographical characteristics were an important factor that influenced renewable energy use. Importance was given to raw materials available in sufficient quantity and quality. Transport also affected renewable energy use. The social and cultural factors that influenced renewable energy use were the living condition, beliefs and values, whereas the economic factors were income, expenditures, occupation, group formation, energy import, and energy management. Although there were enough regional energy officers with a good knowledge and understanding of renewable energy, the budget, materials and equipment were insufficient, so more support was needed from the government and the private sectors and other financial sources. In addition, each stage of people’s participation the choices of renewable energy use. Monitoring, evaluation and follow-up, community people’s knowledge and understanding of renewable energy, and training on renewable energy use also had an effect on renewable energy management. Therefore, it was recommended that decisions on renewable energy use should originate from the community itself and then expand to nearby areas where enough suitable raw materials were available and the people had a good knowledge and understanding of renewable energy. People should be involved in all the stages; they should be made to feel that they were the owners of energy in the community.
Keywords: Community Energy; Energy Management; The Use of Renewable Energy