แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิล โดยใช้เทคนิคการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา: ณัชพล ฟาร์ม อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ฐิตา วรจินดา คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • วิสาขา ภู่จินดา คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • พีรพล เจตโรจนานนท์ คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jem.2022.1

คำสำคัญ:

การเลี้ยงปลานิล, การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์, การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการเลี้ยงปลานิล โดยใช้เทคนิคการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ รวมถึงการประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากปัจจัยนำเข้า และเพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการเลี้ยงปลานิลและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยผู้วิจัยเลือกพื้นที่ศึกษาแบบเจาะจง คือ ฟาร์มเลี้ยงปลานิลในบ่อดินแบบกึ่งพัฒนา และใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกเกษตรกรในพื้นที่

       ผลการวิจัยพบว่า มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวปลานิล โดยมีปริมาณ 197.856 KgCO2eq/รอบ/10 ไร่ รองลงมาคือการเตรียมบ่อเลี้ยง 192.136 KgCO2eq/รอบ/ 10 ไร่, การเลี้ยงปลานิล 36.246 KgCO2eq/รอบ/10 ไร่ และการขนส่งสู่ตลาดปลา 28.176 KgCO2eq/รอบ/10 ไร่ ซึ่งก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่เกิดจากการใช้เครื่องสูบน้ำไฟฟ้าและน้ำมันดีเซล และพบว่าการเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเป็นแหล่งกำเนิดของมลพิษ เพราะน้ำที่ระบายออกนั้นปนเปื้อนจากการขับถ่ายของปลาและเศษอาหารที่ตกค้าง และไม่มีการบำบัด

     จากปัญหาที่ค้นพบ ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางการพัฒนาการเลี้ยงปลานิลและการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม 5 ประเด็น ได้แก่ 1) การรวมกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ 2) การจัดการข้อมูลเพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหา 3) การลดต้นทุนควบคู่กับการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม 4) การจัดการของเหลือเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และ 5) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

References

Chutichaijarus, P. Pridasawas, W. Wanichpongpan, P. Attasat, S. & Suwatthanasilp, A. (2019). Life Cycle Assessment of Raising Juvenile Tilapia Farming in Water Recirculating System. [In Thai]. Retrieved October 30, 2020 from http://www.tsae.asia/2019conf/proceeding/P188-193.pdf.

Department of Fisheries; Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2016). Study on Culture of Nile Tilapia in Earthen Pond of the Farmer Participant in Project at Chaiyaphum Province. [In Thai]. Retrieved October 30, 2020 from https://elibonline.fisheries.go.th/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=dsp&opt=crd&bid=2492&kid=0&lang=0&db=Main&pat=&cat=aut&skin=s&lpp=20&catop=edit&scid=zzz.

Department of Fisheries, Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2019). Statistics Of Freshwater Aquaculture Production 2019. [In Thai]. Retrieved October 30, 2020 from https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20210324153051_1_file.pdf.

Department of Fisheries; Ministry of Agriculture and Cooperatives. Fisheries Development Policy And Strategy Division. (2019). Fisheries Statistics of Thailand 2017. [In Thai]. Retrieved October 30, 2020 from

https://www.fisheries.go.th/strategy-stat/themeWeb/books/2560/1/fisherystatisticreportthailand%2BE.%202560.pdf.

National Statistical Office, Ministry of Digital Economy and Society. (2017). The 2017 Food Consumption Behavior Survey. [In Thai]. Retrieved October 30, 2020 from http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/social/health/Food_consumption_behavior_of_the_population/2560/finalreport.pdf.

Plaipetch, P. (2016). Nutritional Management for Culturing Nile Tilapia (Oreochromis niloticus). [In Thai]. Retrieved October 30, 2020 from https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20170301114400_file.pdf.

Poonpol, P., & Phoochinda, W. (2021). Social Return on Investment of the Snakeskin Gourami (Plasalid) Farming in Bang Bo District, Samut Prakan Province to Become Smart Farmer. [In Thai]. Rajabhat Rambhai Barni, 15(1), 108-118.

Tantipanatip, W. (2018) Carbon Massflow in Red Tilapia Cultured in Earthen bond by Using Life Cycle Assessment: A Case Study in Sena district, Phranakhon Si Ayutthaya Province. [In Thai]. Retrieved October 30, 2020 from http://research.msu.ac.th/msu_journal/upload/articles/article2458_93906.pdf. 2018.

Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization). (2018). Local Performance Assessment: LPA, Carbon Footprint for Organization. [In Thai]. Retrieved October 30, 2020 from http://conference.tgo.or.th/download/tgo_or_th/Article/2018/GHG_LPA.pdf.

Thanee, N. (2015). The Study Of Carbon Emission Of Giant Perch (Lates calcarifer) And Pacific White Shrimp (Litopenaeus vannamei) Meat Production From Fishery Farms Using Life Cycle Assessment: A Case Study In Trang Province, Thailand. [In Thai]. Retrieved October 30, 2020 from http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/bitstream/123456789/5495/2/Fulltext.pdf.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

How to Cite

วรจินดา ฐ., ภู่จินดา ว., & เจตโรจนานนท์ พ. (2022). แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิล โดยใช้เทคนิคการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา: ณัชพล ฟาร์ม อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน, 18(1), 4–17. https://doi.org/10.14456/jem.2022.1

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research