ขอบเขตพื้นที่ป่าตามกฎหมายที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน กรณีศึกษาลุ่มน้ำสาขาห้วยแม่ประจันต์ จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ชวนพิศ ศรีบุญเรือง คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กิตติชัย ดวงมาลย์ คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อลงกรณ์ อินทรักษา คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jem.2021.2

คำสำคัญ:

ลุ่มน้ำ, การใช้ประโยชน์ที่ดิน, ป่าไม้

บทคัดย่อ

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาห้วยแม่ประจันต์ จังหวัดเพชรบุรี โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมในปี พ.ศ.2530 2546 และ 2560 เพื่อหาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าโดยเฉพาะในเขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายและเสนอแนะแนวทางการฟื้นคืนสภาพป่า เพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามนโยบายของรัฐที่จะมีพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 40 ของประเทศในปี พ.ศ.2567 พบว่า ในช่วงปี พ.ศ.2530-2560 พื้นที่ป่าไม้ลดลงถึงร้อยละ 6.93 ในขณะที่พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ชุมชน พื้นที่แหล่งน้ำและพื้นที่เบ็ดเตล็ดอื่นๆ มีสัดส่วนการใช้ที่ดินเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 5.15 0.64 0.98 และ 0.16 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามเขตป่าไม้ตามกฎหมาย พบว่า พื้นที่ป่าไม้ถาวรทับป่าสงวนที่อยู่นอกอุทยานแห่งชาติมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่มากที่สุด คือ 80.99 ตร.กม. เนื่องจากเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ ขอบเขตพื้นที่และกฎระเบียบไม่ชัดเจน เมื่อเทียบกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติในช่วงเวลา 30 ปี ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าไม้เลย ดังนั้น เพื่อฟื้นคืนสภาพพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุก จึงควรดำเนินการกำหนดขอบเขตร่วมกับการจัดทำข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ชัดเจน ประกอบกับการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และสนับสนุนการสร้างป่าชุมชนเพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพิ่ม เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของป่าไม้และให้ความร่วมมือในการฟื้นฟูพื้นที่ป่า

References

Chunkao, K. (2008). Principles of watershed management [In Thai]. Bangkok: Kasetsart University.

Commission for Natural Resources and Environment Legislative Assembly. (2015). Resolve ForestArea. [In Thai]. Retrieved November 1 from http://library2.parliament.go.th/giventake/content_nla2557/d090858-02.pdf.

Department of Provincial Administration. (2018). Population and House Statistics Report [In Thai].Retrieved August 1, 2019, from http://stat.bora.dopa.go.th/ stat/statnew/statTDD/.

National Council for Peace and Order. (2014). The Suppression and Stop the Invasion and Destroy Forest Resources [In Thai]. Royal Thai Government Gazetle Vol.131 special ed.D.

Phetchaburi Provincial Office of Natural Resources and Environment. (2008). Forest Area Phetchaburi Province [In Thai]. Retrieved August 1, 2019, from http://www.phetchaburi.go.th/data/pd/d41.pdf.

Ratanasuwan, P. (2013). Study Land Use Change on the Phetchaburi Basin. [In Thai]. (pp.7-9). Bangkok: Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation.

Royal Forest Department. (2017). Encroach on Forests Phetchaburi Watershed. (1987-2017). Bangkok: Royal Forest Department.

Royal Forest Department. (2020). Information data. [In Thai]. Retrieved December 29, 2020, from http://forestinfo.forest.go.th/fCom_Year.aspx.

Soisermsap, J. (2009). Thai Legal Enforcement of Public Land Trespass [In Thai]. Retrieved August 1, 2019, from https://dric.nrct.go.th/.

Wiroon, S., Kittichai, D. and Kasem, C. (2019). Government Projects Causing Land Use Changes Irrelevant to Watershed Classification: Petchaburi Watershed Case Study. Journal of Environmental Management, 15(2), 62-77.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-20

How to Cite

ศรีบุญเรือง ช., ดวงมาลย์ ก., & อินทรักษา อ. (2021). ขอบเขตพื้นที่ป่าตามกฎหมายที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน กรณีศึกษาลุ่มน้ำสาขาห้วยแม่ประจันต์ จังหวัดเพชรบุรี. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน, 17(1), 24–39. https://doi.org/10.14456/jem.2021.2

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research