ความสำเร็จในการปรับตัวต่อผลกระทบจากภัยแล้งของชุมชน: ศึกษากรณี ชุมชนบ้านลิ่มทอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jem.2021.12คำสำคัญ:
ความสำเร็จ, การปรับตัว, ภัยแล้ง, ชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสถานการณ์ปัญหาภัยแล้งและการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหา และวิเคราะห์ความสำเร็จในการปรับตัวต่อผลกระทบจากภัยแล้งของชุมชนบ้านลิ่มทอง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้นำชุมชนและผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชน และผู้บริหารและบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลและการสังเกตการณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาตามกรอบการประเมิน CIPP-I Model
ผลการวิจัย พบว่าบ้านลิ่มทองเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหานั้นชุมชนได้มีการนำประเด็นปัญหาเข้าพูดคุยเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขร่วมกัน โดยการสำรวจพื้นที่ การสอบถามจากผู้รู้ในชุมชน และนำความรู้ทางวิชาการมาร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหา จากการวิเคราะห์ความสำเร็จในการบริหารจัดการปัญหาภัยแล้ง 5 ด้าน ได้แก่ บริบท (Context) ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Product/Output) และผลกระทบ (Impact) สามารถสรุปปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการปรับตัวของชุมชนได้ดังนี้ 1) มีการเรียนรู้ถึงสภาพปัญหาและหาแนวทางที่เหมาะสม 2) มีการจัดตั้งเครือข่าย 3) ผู้นำมีความเข้มแข็ง มีความรู้ความสามารถ ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วม 4) มีความสามารถในการบริหารจัดการและเข้าถึงงบประมาณจากหน่วยงานภายนอก และ 5) มีการจัดทำแผนงาน และโครงการ ซึ่งมีความสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชน
References
Boonyapinyo, C. (2016). Adaptation to the Impact of Coastal Erosion of Laem Fapha Sub-district Administration Organization and the Community, Pra Samut Chedi District, Samutprakarn Province [In Thai]. Unpublished Master’s thesis, National Institute of Development Administration.
Chinvanno, S. (n.d.). Climate change in Thailand in the future [In Thai]. Retrieved January 21, 2018, from http: //startcc.iwlearn.org/doc/Doc_thai_4.pdf.
Department of Disaster Prevention and Mitigation. (2014). Disaster Risk Reduction to Sustainable Development [In Thai]. (1st ed). United Nations Thailand.
Department of Environmental Quality Promotion. (2000). Cooperation Project Manual for Community Resource Restoration Green SAO. Volume 1 [In Thai]. Bangkok: S. Paiboon press.
Hydro and agro informatics institute. (2014). Community water resource management According to royal initiatives [In Thai]. Utokapat Foundation Under Royal Patronage of H.M. the King.
Inmuang, Y. (2013). Climate change: Challenges of Isan Farmers in Adaptation. WeSD, 4(4), 4.
Nongboat Subdistrict Administrative Organization. (2017). Four-Year Local Development Plan (2018-2021). Nongboat Subdistrict Administrative Organization.
Poboon, C. (2018). Environmental project management [In Thai]. Bangkok: All In One Printing.
Pongpleesarn, Y. (2013). Community Network Building for Coastal Erosion Protection Using Indigenous Knowledge: A Case Study of Bamboo Revetments by Inner Gulf of Thailand Conservation Network [In Thai]. Unpublished Master’s thesis, Mahidol University.
Science-policy dialogue on challenge of global environmental change in SOUTHEAST ASIA (SEA START). (2010). Building community capacity in dealing with the impacts of climate change and future risks [In Thai]. Chulalongkorn University.
Thipnangrong, S. (n.d.). MRs.Sanit Thipnangrong Environmental specialist [In Thai]. Retrieved January 21, 2018, from http: //www.wmnthailand.org/wp-content/uploads/2016/12/CV_Thai-4.pdf.