การศึกษาแนวทางการจัดการขยะที่เหมาะสม สำหรับพื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล ด้วยการใช้วิจัยแบบมีส่วนร่วม STUDY ON APPROPRIATE GUIDELINE FOR WASTE MANAGEMENT IN MARINE NATIONAL PARK AREAS WITH PARTICIPATORY ACTION RESEARCH

ผู้แต่ง

  • น้ำฝน อัศวกิจกุลโรจน์ Namfon Assawakitkulroj
  • เจนวิทย์ วงษ์ศานูน Janewit Wongsanoon
  • ศิรพงศ์ สุขทวี Sirapong Sooktawee
  • สุธีระ บุญญาพิทักษ์ Suteera Boonyapitaks
  • โยธิน แสวงดี Yothin Sawangdee

คำสำคัญ:

อุทยานแห่งชาติทางทะเล, การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, การจัดการขยะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ แนวทางการจัดการขยะและของเสียอันตรายที่เหมาะสมตามบริบทของพื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเลในประเทศไทย พื้นที่ศึกษาคือ อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง จังหวัดตราดใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายคือ เจ้าหน้าที่อุทยานและท้องถิ่น ประชาชนในบริเวณพื้นที่ ผู้ประกอบการ ผู้ให้บริการ รวมถึงนักท่องเที่ยว ด้วยการใช้แบบสอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ประเด็นหลักของการศึกษาคือการจัดการขยะและของเสียอันตราย โดยพบว่าปัญหาของการจัดการขยะในพื้นที่มีสาเหตุมาจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาลท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวบางส่วนมีพฤติกรรมไม่คัดแยกขยะก่อนทิ้ง อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาสถิติการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวและปริมาณขยะ ในปี พ.ศ. 2559-2560 นั้น กลับมีทิศทางตรงกันข้าม เนื่องจากมีการจัดการขยะที่เข้มงวด มีการนำหลัก 3Rs มาใช้ การประชาสัมพันธ์ รณรงค์ และมีความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นและผู้เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด ทำให้การจัดการขยะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ปริมาณลดลง สรุปได้ว่านอกจากจะต้องมีระบบการจัดการขยะและกฎระเบียบที่ดีแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดคือ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รณรงค์ สร้างจิตสำนึก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องตามบริบทและเงื่อนไขของพื้นที่ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบการจัดการขยะในพื้นที่อื่นๆ ได้ต่อไป

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2562). (ร่าง) Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 และ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-265. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพฯ.
กรมอนามัย. (2553) คู่มือการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรณีการจัดการขยะมูลฝอย สำหรับ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กระทรวงสาธารณะสุข, กรุงเทพฯ
กรรณิกาแสงเปล่ง. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหาร
ส่วนตำบลแพรกษา: ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำลแพรกษาอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชา การบริหารทั่วไป,
วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา,ชลบุรี.
กรรณิมา อาชานุสรณ์. (2558). การศึกษาวิธีการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนเพื่อชุมชนน่าอยู่
กรณีศึกษาหมู่บ้าน บ้านบัวทอง ตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.(2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว พ.ศ. 2558-2560. สืบค้นเมื่อวันที่ 20
กรกฎาคม 2562, จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7114
กองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล.(2553). เอกสารเผยแพร่สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ฉบับที่ 50.กรุงเทพ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
เกจ็กนก เอื้อวงศ์. (2562). การสนทนากลุ่ม: เทคนิคการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ.
วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 12(1). 17-30
ธนัญญา ธีระอกนิษฐ์. (2555). พฤติกรรมมนุษย์เพื่อการพัฒนาตน.อุดรธานี: สำนักวิชาศึกษาทั่วไป
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2546). การมีส่วนร่วม : หลักการพื้นฐาน เทคนิคและกรณีตัวอย่าง.
(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สิริลักษณ์การพิมพ์.
นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปรัชญา เวสารัชช์. (2528). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ:
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัฐกานต์ สามสี. .(2558). การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของอุทยานแห่งชาติเจ้าไหม จังหวัดตรัง.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์).มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
ศุลีพร แสงกระจ่างและคณะ. (2556). ผลกระทบของพลสติดต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม.
วารสารวิชาการ พิษวิทยาไทย 2556:28(1)
สถาบันพลาสติก. (2560). อุตสาหกรรมพลาสติก. สรุปภาวะเศรษฐกิจ ปี 2559 และแนวโน้มปี 2560สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2562, จาก
http://www.oie.go.th/site/default/file/attachment/industry_overview/annual2016.pdf
สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรณีศึกษาการมใช้มาตรกการทางกฎหมายเพื่อการจัดการและการพิทักษ์แนวปะการัง. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2562, จากhttps://cuir.car.chula.ac.th/dspace/bitstream/123456789/10122/3/Charatpongse_Ch_ch4.pdf
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) (2562). การจัดการขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2562, จาก
https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/647822
สำนักงานจังหวัดตราด. (2562). แผนงานบูรณาการส่งเสริมการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดตราด. สำนักงานจังหวัดตราด,ตราด.
สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาฑิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). ขยะพลาสติก:ภัยใกล้ตัว.
สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาฑิการสภาผู้แทนราษฎร. (2562). การจัดการขยะมูลฝอยในประเทศไทย.
กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สืบค้นเมือวันที่ 30 กรกฎาคม 2562, จาก
https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2559/feb2559-7.pdf
หัสดิน แก้ววิชิต. (2559). รายวิชา พฤติกรรมมนุษย์เพื่อการพัฒนาตน. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
อุดรธานี.
Costanza, R., Daly, H., Folke, C., Hawken, P., Holling, C. S., McMichael, A. J., ... & Rapport, D. (2000). Managing our environmental portfolio. BioScience, 50(2), 149-155.
Frias, J. P. G. L., Sobral, P., & Ferreira, A. M. (2010). Organic pollutants in microplastics from two beaches of the Portuguese coast. Marine pollution bulletin, 60(11), 1988-1992.
William, E. (1976). Participation Management. Concept, Theory and Implementation. New York:
State University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research