การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาโครงการอ่างเก็บน้ำคลองบ้านนาจังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • กุลการ มงคลชูโชคทวี คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jem.2021.9

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของประชาชน, การจัดการทรัพยากรน้ำ, โครงการอ่างเก็บน้ำคลองบ้านนา, ความโปร่งใส

บทคัดย่อ

     ปัญหาการจัดสรรทรัพยากรน้ำมีจำนวนเพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดปัญหาความขัดแย้งตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนถูกกำหนดเป็นหลักสำคัญในแก้ปัญหาการจัดการทรัพยากรน้ำ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนและแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้มีส่วนได้เสียร่วมกับการศึกษาเอกสาร ผลการศึกษาพบว่าประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลโครงการไม่เพียงพอ เนื่องจากผู้พัฒนาโครงการแจ้งข้อมูลเฉพาะผู้นำชุมชน ประชาชนส่วนใหญ่จึงไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ รวมทั้งการบริหารงานเป็นการสั่งการแบบบนลงล่างส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้รับโอกาสการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำที่เพียงพอ ระดับการมีส่วนร่วมจึงอยู่ในระดับที่ต่ำ แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น ผู้พัฒนาโครงการควรให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลที่มีความชัดเจน ง่ายต่อการเข้าถึงและเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมแสดงความคิดเห็น รวมทั้งปรับแนวทางการบริหารการสั่งการเป็นการบริหารแบบล่างขึ้นบน ผู้บริหารควรตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วม การให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเปิดเผย รวมทั้งเสริมสร้างการมีส่วนร่วมให้มีระดับที่สูงขึ้นซึ่งจะนำไปสู่การจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน

References

Charoensit, J., Samanasena, P., Pansawang, C., Thanakasem, N., & Amornwitthawat, P (2018). SOCIAL CAPITAL AND COMMUNITY PARTICIPATION CASE STUDY: COMMUNITY-BASED TOURISM AT PHAMON VILLAGE, DOI INTHANON NATIONAL PARK, CHIANG MAI PROVINCE. Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science), 8(1).

Chompunth, C. (2013). Good Governance and Public Participation in Decision-making Process of Development Project. Journal of Environmental Management, 9(1), 85 – 105.

Chompunth, C. (2013). A Review of Public Participation Concept in “The Public Participation Handbook: MakingBetter Decisions through Citizen Involvement” in Thai Context. JOURNAL OF ENVIRONMENTALMANAGEMENT, 8(1), 1.

Chuen, S. (2012). Public participation community forest management in Tambon Wangmaprang WangwisetDistrict, Trang Province. Academic Services Journal, 23(3), 43-53.

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participations place in rural development: Seeking Clarity through specificity. New York:World Developments.

Kansomdee, N. (2011). Alternative: People''s participation in local development in Mueanglen Tambon Municipality, San Sai District, Chiang Mai Province, [In Thai]. Unpublished Thesis, Chiang Mai University.

Kawicha, K. (2019). Good Governance and Citizen’s Participation for Environmental Quality Management under the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560. Christian University Journal, 25(1), 118- 132.

Lapchit, S. (2009). Factors Affacting Citizen’s Decision to Participation in Tambol Administration Organizations in Warinchamrab District, Ubonratchathani Province. Veridian E – Journal, 2(1), 3-18.

Meenakorn . (2011). People's Participation in Community Garbage Management Tambon Bang Nang Li, Amphawa District, Samut Songkram Province. : Research and Development Institute, Suan Sunandha Rajabhat University.

Nakhon Nayok Provincial Natural Resources and Environment Office. (2015). Performance Report Annual budget 2015.

Namburi, S. (2019). Participation Theory in Public Administration. The Journal of Research and Academics, 2(1), 183-197.

Petts, J. (1999). Public Participation and Environmental Impact Assessment. In Handbook of Environmental Impact Management. J. Petts. Oxford, Blackwell Science, 1, 145-173.

Phaikaset, U & Whangmahaporn, P. (2018). People’s Participation through Social Media Facebook of Thai Government Agencies. Journal of Politics and Governance, 7(1), 39-59.

Phoboon, C. (2007). Community Participation in Environmental and Resources Management. Journal of Environmental Management. 3(1).

Phuangngam, S and Kaewpradit, K. (2015).THE COMMUNITY’S PARTICIPATION LEVEL OF SOLID WASTE MANAGEMENT: CASE STUDY IN KAONIPAN SUB-DISTRICT ADMINISTRATION, WEINGSRA DISTRICT, SURAT THANI PROVINCE. Journal of Graduate Research, 6(1), 119-134.

Phumipatana, P. (2013). A Book Review in “Ordained Forest, Destiny River, Forest and Water Cultural Management”. JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT. 9(1), 1.

Ratthanachai, C. (2010). Environmental Impact Assessment. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. USGS. (2016). The situation of the world's fresh water and Thailand. Retrieved Oct 1, 2019, from http://www.wwf.or.th/what_we_do/wetlands_and_production_landscape/freshwater.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-07

How to Cite

มงคลชูโชคทวี ก., & ชมพันธุ์ จ. (2021). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาโครงการอ่างเก็บน้ำคลองบ้านนาจังหวัดสระบุรี. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน, 17(2), 22–41. https://doi.org/10.14456/jem.2021.9

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research