การจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษาความเสี่ยงอุทกภัยฉับพลัน จากการพิบัติของเขื่อนแม่สรวย จังหวัดเชียงราย COMMUNITY-BASED DISASTER RISK MANAGEMENT: A CASE STUDY OF FLASH FLOOD RISK FROM FAILURE OF MAE SUAI DAM IN CHIANGRAI PROVINCE

ผู้แต่ง

  • ชญาทัต เนียมแสวง Chayathat Niamsawaeng 0992200641
  • จำลอง โพธิ์บุญ Chamlong Poboon

DOI:

https://doi.org/10.14456/jem.2020.13

คำสำคัญ:

การจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ, อุทกภัยฉับพลัน, ชุมชนเป็นฐาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและค้นหาแนวทางจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติอุทกภัยฉับพลันที่มีสาเหตุมาจากการพิบัติของเขื่อนแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์รายบุคคล สัมภาษณ์กลุ่ม การประชุมกลุ่มย่อย และการประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยประกอบด้วย ผู้นำชุมชนจาก ผู้นำท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำทางความคิด และผู้แทนจาก 6 ชุมชนในตำบลแม่สรวย ใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ปี (พ.ศ. 2557- พ.ศ. 2559) ข้อมูลได้รับการวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ซึ่งผลการศึกษาพบว่าชุมชนออกแบบการจัดการภัยพิบัติเป็น 3 ระยะ คือ 1) การเตรียมความพร้อมก่อนเกิดภัยพิบัติ 2) การเผชิญเหตุภัยพิบัติ 3) การฟื้นฟูหลังเหตุการณ์ภัยพิบัติ ชุมชนเตรียมความพร้อมก่อนเกิดภัยพิบัติด้วยการจัดการที่อยู่อาศัยและการจัดระเบียบการจราจรในชุมชน การจัดการแหล่งน้ำ การจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยงภัยพิบัติ และการพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัย วางแผนการเผชิญเหตุภัยพิบัติด้วยการกำหนดเส้นทางเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่ปลอดภัย และการกำหนดขั้นตอนการสื่อสารในภาวะวิกฤติพร้อมทั้งการประสานความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และใกล้เคียง สุดท้ายชุมชนแม่สรวยออกแบบการฟื้นฟูชุมชนหลังจากสิ้นสุดเหตุการณ์ภัยพิบัติเป็น 2 กรณีคือ พื้นที่เกษตรกรรมให้พร้อมสำหรับการเพาะปลูกโดยเร็ว พื้นที่ชุมชนซ่อมแซมบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายตามความจำเป็น

References

Bhandari, D., Malakar, y. & Murphy, B. (2010). Understanding Disaster Management in Practice: with reference to Nepal. Katmandu, Nepal: Practical Action.

Chueachchantuak V., Ayuwat D. & Inmuong Y. (2014). Pre-flood Disaster Management using the Community-Based Approach: The Case of Lam Ta Khong Basin, Nakhon Ratchasima Province. Journal of Environmental Management. 10(2) 53-69.

Coppola, D.P. (2007). Introduction to International Disaster Management. Burinton: Butterworth Heinemann.

Creswel, J.W. (2008). Educational Research Planning. Conducting and Evaluating Quantitative and Qualitative Research. Boston: International Pearson Merril Prentice Hall.

Department of Disaster Prevention and Mitigation. (2015). National Disaster Prevention and Mitigation Plan, B.E. 2015-2019. Bangkok: Department of Disaster Prevention and Mitigation. Ministry of Interior.

Irrigation Department (2015). Emergency Action Plan of Maesuai Dam. Department of

Mallick, B. Witte, S. Sarkar, R. Mahboob, A. & Vogt, J. (2009). Local Adaptation Strategies of a Coastal Community during Cyclone Sidr and Their Vulnerability Analysis for Sustainable Disaster Mitigation Planning in Bangladesh. Journal of Bangladesh Institute of Planner, 2(1), 158-168.

Provincial Electricity Authority. (2012). Crisis Communication management plan. Retrieved December 1, 2012, from http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER8/DRAWER099/.

Public Relation Department. (2018). Crisis Public Relation Strategies. Retrieved February 1, 2020, from http://www.prd.go.th/download/article/article_20171224103649.pdf.

Ratana, K. (2006). Participatoty watershed management. Bangkok: Kasetsart University Press, 466-483.

Tarleton, M. & Ramsey, D. (2008). Farm-Level Adaptation to Multiple Risks: Climate Change and Other Concerns. Journal of Rural and Community Development, 3(2), 47-63.

The United Nations International Strategy for Disaster Risk Reduction (UNISDR). (2005). Hyogo Framework for Action 2005-2015: Building the Resilience of Nations and Communities to Disasters. The final report of the World Conference on Disaster Reduction. Retrieved November 21, 2012, from http://unisdr.org/wcdr.

Webbe, M., Eakin, H., Seiler, R., Vinocur, M., Avila, C., Maurutto, C., & Torres, G.S. (2008). Local Perspectives on Adaptation to Climate Change: Lessons from Mexico and Agentina. In Leary, N., Adeiuwon, J., Barros, V., Burton, I., Kulkarini, J. & Lasco, R. (Eds.) Climate Change and Adaptation. 315-331. UK: Earthscan.

Wongwatthanaphong Kampanart. (2011). Community Based Disaster Management: A case study of Bangrakam district Phitsanulok province. The 4th National Conference on Public Affairs Management under Thailand 4.0. 1718-1730.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28

How to Cite

Chayathat Niamsawaeng ช. เ., & Chamlong Poboon จ. โ. . (2020). การจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษาความเสี่ยงอุทกภัยฉับพลัน จากการพิบัติของเขื่อนแม่สรวย จังหวัดเชียงราย COMMUNITY-BASED DISASTER RISK MANAGEMENT: A CASE STUDY OF FLASH FLOOD RISK FROM FAILURE OF MAE SUAI DAM IN CHIANGRAI PROVINCE . วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 16(2), 94–109. https://doi.org/10.14456/jem.2020.13

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research