แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช GUIDELINES FOR PUBLIC PARTICIPATION IN SOLID WASTE MANAGEMENT OF NAKHON SI THAMMARAT MUNICIPALITY

ผู้แต่ง

  • ศาลิมาร์ เกิดกลิ่นหอม Salimar Kirdklinhom คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์
  • ณพงศ์ นพเกตุ Napong Nophaket คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jem.2020.11

คำสำคัญ:

การจัดการขยะมูลฝอยชุมชน, การมีส่วนร่วมของประชาชน, เทศบาลนครนครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ศึกษาสถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอยและระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย เพื่อเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงผสม โดยใช้แบบสัมภาษณ์กับตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้นำชุมชน และแบบสอบถามผู้มีบทบาท

ในการจัดการขยะมูลฝอย 400 ครัวเรือน ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติเชิงพรรณนา รวมถึง SWOT Analysis และ TOWS Matrix ผลการศึกษาพบว่า 1) เทศบาลมีขยะมูลฝอยตกค้างในสถานที่กำจัดขยะ 1.12 ล้านตัน ใช้วิธีการกำจัดแบบเทกอง ระบบการจัดการขยะมูลฝอยมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย แต่ขาดการคัดแยกขยะมูลฝอยที่ต้นทาง 2) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับปานกลาง และ 3) ข้อเสนอแนะ คือ เทศบาลต้องสร้างโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่การตัดสินใจร่วมวางแผน การปฏิบัติ และการประเมินผล โดยแบ่งเป็นแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติการ มุ่งเน้นครัวเรือนและชุมชนตระหนักถึงปัญหาร่วมกัน เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง เทศบาลเป็นหน่วยงานสนับสนุน เพื่อการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2562). รายงานสถานการณ์มลพิษประเทศไทย ปี 2561. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กรมควบคุมมลพิษ. (2562). รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2561). สถานการณ์ด้านขยะมูลฝอยของประเทศ. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2562. จาก http://infotrash.deqp.go.th/infolink/?p=27
จรรยา ปานพรม. (2556). การมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยของครัวเรือน: เทศบาลตำบลคลองจิก อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
นัยนา เดชะ. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2560). การศึกษาความเหมาะสมโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เทศบาลนคร นครศรีธรรมราช. พัทลุง: ศูนย์วิจัยพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2562). แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” จังหวัด นครศรีธรรมราช พ.ศ. 2562. นครศรีธรรมราช.
สำนักงานเทศบาลนครนครศรีธรรมราช. (2560). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-2564) เทศบาลนครนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลนครนครศรีธรรมราช.
สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร. (2556). คู่มือแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน. กรุงเทพฯ:
มาตาการพิมพ์.
สุธี ฮั่นตระกูล และ Dr. Walter Schoell. (ม.ป.ป.). การจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน (CBM). สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2562. จาก http://slcp.phsmun.go.th/wpcontent/uploads/2016/05/vulume-4-CBM-curr-3-complete-text.pdf
World Heritage Site. (2019). WHC Session 2021. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2562. จาก https://www.worldheritagesite.org/nominated/2021

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28

How to Cite

Salimar Kirdklinhom ศ. เ., & Napong Nophaket ณ. น. (2020). แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช GUIDELINES FOR PUBLIC PARTICIPATION IN SOLID WASTE MANAGEMENT OF NAKHON SI THAMMARAT MUNICIPALITY. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 16(2), 60–73. https://doi.org/10.14456/jem.2020.11

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research