การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อ การหมักปุ๋ยชีวมวลเหลือทิ้งในสวนวนเกษตร THE PARTICIPATORY ACTION RESEARCH FOR COMPOSTING OF BIOMASS RESIDUES IN AGRO-FORESTRY

ผู้แต่ง

  • Supaporn Pongthornpruek สุภาพร พงศ์ธรพฤกษ์ Uttaradit Rajabhat University

DOI:

https://doi.org/10.14456/jem.2019.11

คำสำคัญ:

วนเกษตร; ปุ๋ยหมัก; เศษวัชพืชและใบไม้

บทคัดย่อ

พื้นที่ตำบลผามูบ  อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์  เป็นพื้นที่สวนวนเกษตรปลูกทุเรียน  ลางสาด  และลองกองซึ่งมีหญ้าที่เกิดจากการตัดแต่งสวนเศษใบไม้ร่วงหล่นเป็นจำนวนมาก  ต้นทุนการผลิตทางการเกษตรที่ใช้จ่ายมากมาจากค่าแรง  ค่าปุ๋ยและสารฆ่าแมลง   วัชพืชและเศษใบไม้ในสวนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทำปุ๋ยหมักได้  การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยการผลิตปุ๋ยหมักจากเศษวัชพืชและใบไม้ในสวนวนเกษตรมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติและหารูปแบบการผลิตปุ๋ยหมักจากเศษวัชพืชและใบไม้ วิธีการศึกษาวิจัยประกอบด้วยการทดลอง สนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ การสังเกต การอภิปรายกลุ่มเพื่อศึกษาถึงสถานการณ์ทั่วไป บริบทชุมชน การยอมรับเทคโนโลยีของกลุ่มเกษตรกรและการนำไปใช้ประโยชน์  โดยทดลองหมักปุ๋ยในพื้นที่จากส่วนผสมของวัสดุ 4 สูตรในระยะเวลา 45 วันและ60 วัน ผลการศึกษาพบว่า ปุ๋ยหมักที่มีเศษวัชพืชและใบไม้ : มูลสัตว์ : น้ำหมักชีวภาพมีความเหมาะสมมากที่สุด  รูปแบบการหมักปุ๋ยที่เกษตรกรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่คือแบบเทกองพื้น เนื่องจากสะดวกและประหยัดแรงงาน  ผลการนำไปใช้ประโยชน์พบว่าเกษตรกรสามารถใช้ใบไม้และเศษวัชพืชผลิตปุ๋ยหมักได้ประมาณ 300 กิโลกรัมต่อไร่  ซึ่งปุ๋ยหมักที่ผลิตได้สามารถนำไปใช้ในสวนเพื่อลดต้นทุนในการดูแลต้นทุเรียนช่วงหลังออกผลผลิต   สำหรับอีกทางเลือกหนึ่งคือเกษตรกรนำไปใช้เพาะกล้าทุเรียนจำหน่ายได้

References

Department of Agriculture. (2005). Announcement of Standard Organic Fertilizer 2005 [In Thai].
Government Gazette. Issue 122(109) : 9-10.
Jaruntorn Boonyanuphap, Wanwisa Pansak and Kanchaya Maosew. (2018). Environmental
Cost-Benefit Analysis of Soil and Water Conservation Measures for Para Rubber
Plantation in Sloping Regions of Nan Province [In Thai]. Naresuan University Journal : Science and
Technology (26)3. 80-97.
Pakpong Pochanaet. (2016). The Present State of Urban Air Pollution Problems in Thailand Large Cities :
Cases of Bangkok, Chiang Mai, and Rayong [In Thai]. Journal of Environmental Management.
12(1), 114-133.
Ratchakorn Namkorn, Suthep Silapanuntakul, Pisit Vatanasomboon and Tawach Prechthai.(2015) Co-Compost Production from Sewage Sludge Mixed with Vegetable
Wastes and Scum [In Thai]. Journal of Community Development and Life Quality 3(1). 95-103.
Supaporn Buachum and Prawit Thowattana. (2015). The Utilization of Aquatic Weeds and Agricultural
Residues for Composting and Planting Material in Pakphanang River Basin, Nakhon Si Thammarat
[In Thai]. The 6th National and International Conference 2018. 546-557.
Uttaradit Official. (2014). Development Vision and Strategy of Uttaradit Province [In Thai]. Retrieved Nov 26,
2017, from https://uttaradit.go.th/acrobat/vmgo_utt.57.pdf
Anut Kiriratnikom, Suphada Kiriratnikom, and Tiptiwa Sumpunthamit. (2016). Litter Decomposition and
Nutrient Release in Ban Nong-Tin Community Forest, Phapayom District, Phatthalung
Province [In Thai]. Thaksin University Journal. 19 (2) Jul-Dec : 33-41.
Gonzalez, G. and Seastedt, T.R. .2000. “Soil fauna and plant litter decomposition in tropical
and subalpine forests”.Ecology. 82(4) : 955-964.
Yamada, Y. and Kawase, Y. 2005. Aerobic composting of waste activated sludge: kinetic analysis for microbiological reaction and oxygen consumption. Waste. Manag. 26 : 49 – 61.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-23

How to Cite

สุภาพร พงศ์ธรพฤกษ์ S. P. (2019). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อ การหมักปุ๋ยชีวมวลเหลือทิ้งในสวนวนเกษตร THE PARTICIPATORY ACTION RESEARCH FOR COMPOSTING OF BIOMASS RESIDUES IN AGRO-FORESTRY. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน, 15(2), 78–87. https://doi.org/10.14456/jem.2019.11

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research