การสำรวจแหล่งกำเนิดสารปนเปื้อน และประเมินศักยภาพด้านคุณภาพน้ำ แม่น้ำเจ้าพระยาในหน้าแล้ง CHAO PHRAYA RIVER CONTAMINATION SOURCES INVESTIGATION AND WATER QUALITY CAPACITY IN DRY SEASON EVALUATION

ผู้แต่ง

  • Sitang Pilailar สิตางศุ์ พิลัยหล้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • Apichote Urantinon อภิโชติ อุฬารตินนท์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jem.2019.4

คำสำคัญ:

แม่น้ำเจ้าพระยา, แหล่งกำเนิดสารปนเปื้อน, คุณภาพน้ำ, น้ำเสียชุมชน, น้ำเสียเกษตรกรรม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นทั้งแหล่งน้ำดิบ และทำหน้าที่รองรับของเสียจากกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละจังหวัดที่แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านมีจำนวนประชากรไม่เท่ากัน สภาพการใช้ที่ดินสองข้างตลิ่งแม่น้ำต่างกัน และมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างกัน จึงผลิตน้ำเสียที่ไหลสู่แม่น้ำในอัตราที่ต่างกันและมีภาระความสกปรกไม่เท่ากัน การศึกษานี้ได้ทำการสำรวจแหล่งกำเนิดสารปนเปื้อนและเก็บน้ำตัวอย่างจากแม่น้ำเจ้าพระยาในหน้าแล้ง ตลอดระยะทางประมาณ 270 กิโลเมตร ตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท จนถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า จังหวัดสมุทรปราการ ผลการศึกษาบ่งบอกถึงแหล่งกำเนิดมลพิษทั้งจากชุมชน วัด ร้านอาหาร พื้นที่การเกษตร โรงงานอุตสาหกรรม โดยชุมชนเป็นแหล่งกำเนิดน้ำเสียที่สร้างภาระความสกปรกสูงที่สุดตลอดลำน้ำ รองลงมาคือเกษตรฟาร์มสุกร และอุตสาหกรรม สำหรับน้ำเสียจากกิจกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนั้นมีค่าความสกปรกไม่มากนัก จึงช่วยเจือจางความสกปรกรวมของแม่น้ำเจ้าพระยา

Author Biographies

Sitang Pilailar สิตางศุ์ พิลัยหล้า, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Faculty of Engineering, Kasetsart University, Bangkok, Thailand 10900

Apichote Urantinon อภิโชติ อุฬารตินนท์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

Faculty of Engineering and Architecture, Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi , Phranakhon Si Ayutthaya, Thailand 13000

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-23

How to Cite

สิตางศุ์ พิลัยหล้า S. P., & อภิโชติ อุฬารตินนท์ A. U. (2019). การสำรวจแหล่งกำเนิดสารปนเปื้อน และประเมินศักยภาพด้านคุณภาพน้ำ แม่น้ำเจ้าพระยาในหน้าแล้ง CHAO PHRAYA RIVER CONTAMINATION SOURCES INVESTIGATION AND WATER QUALITY CAPACITY IN DRY SEASON EVALUATION. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน, 15(1), 62–83. https://doi.org/10.14456/jem.2019.4

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research