ปฏิบัติการของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่านกลไกตลาด: โครงการเรดด์พลัสในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านหัวทุ่งอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ PRACTICES OF ECONOMIC MECHANISM IN ENVIRONMENTAL CONSERVATION: REDD+ PROJECT IN BAN HUA THUNGCOMMUNITY FOREST, CHIANG DAO DISTRICT,CHIANG MAI PROVINCE

มาตรการเรดด์พลัสในพื้นที่ป่าชุมชน บ้านหัวทุ่ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • chattrabhorn Suriwan ฉัตราภรณ์ สุริวรรณ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jem.2019.3

คำสำคัญ:

: การปกครองสิ่งแวดล้อม, NSMD, REDD

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้ามาของแนวคิดเรดด์พลัสซึ่งเป็นการปกครองสิ่งแวดล้อมผ่านกลไกตลาดที่ดำเนินการโดยองค์กรรัฐในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านหัวทุ่ง ซึ่งในช่วงก่อนโครงการจะเริ่มดำเนินการชาวบ้านมีความกังวลในด้านการถูกละเมิดวิถีชีวิต แต่เมื่อเจ้าหน้าที่เข้ามาชี้แจงและจัดประชุมเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านสภาวะโลกร้อนและวิธีการบรรเทาโดยชาวบ้านจะสามารถมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าไม้ให้อุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ป่าไม้เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน โดยเรดด์พลัสจะให้ทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน และชาวบ้านจะได้รับค่าตอบแทนจากการจ้างปฏิบัติงานตามหน้าที่ต่างๆ ซึ่งเป็นเงินจากแหล่งทุนระดับนานาชาติที่ใช้สำหรับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และในการดำเนินงานชาวบ้านไม่ได้รับผลกระทบในด้านการละเมิดวิถีชีวิตอย่างที่เคยกังวล อย่างไรก็ตามด้านงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานจะมีอยู่อย่างจำกัดทำให้การกระจายรายได้ในชุมชนยังจัดการได้ไม่ดีพอ แต่ชาวบ้านเห็นว่าการได้ร่วมปฏิบัติงานกับเจ้าหน้าที่จะส่งผลดีแก่ชุมชน และชุมชนก็ยังดูแลการรักษาป่าโดยชุมชนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้วนั่นเอง

References

ชูศักดิ์ วิทยาภัค. (2558). การปกครองสิ่งแวดล้อมรูปแบบใหม่ กระบวนการเสรีนิยมใหม่ทางสิ่งแวดล้อม การจ่ายค่าตอบแทนสำหรับบริการของระบบนิเวศ. เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุรินทร์ อ้นพรม. (2554). ป่าชุมชน: เทคโนโลยีอำนาจควบคุมชุมชนในเขตป่าชิ้นใหม่? กรณีศึกษาป่าชุมชนห้วยแก้ว ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 30(2).
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์การมหาชน)และคณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2556). คู่มือหลักเกณฑ์การประเมินโครงการกลไกเรดด์พลัส. กรุงเทพฯ: อักษรสยามการพิมพ์.
Brockhaus, M., Gregorio, M. D. and Mardiah, S. (2013). Governing the design of national REDD +:
An analysis of the power of agency. Forest Policy and Economics, 49(2014), 23–33.
Cashore, B. (2002). Legitimacy and the Privatization of Environmental Governance How Non-State Market-Driven (NSMD) Governance Systems Gain Rule-Making Authority. Governance, 15(4), 503-529.
Dressler, W. H., Mahanty S., Clendenning, J. and To, P. X. (2014). Rearticulating governance through carbon in the Lao PDR?. Environment and Planning C: Government and Policy, 2014(32), 1-19.
Evans, K., Murphy, L. and Jong, W. (2012). Global versus local narratives of REDD: A case study from Peru’s Amazon. environmental science & policy, 35(2014), 98-108.
Fletcher, R. (2010). Neoliberal environmentality: Towards a poststructuralist political ecology of the conservation debate. Conservation and Society, 8(3), 171-181.
Larson, A. M. (2010). Forest tenure reform in the age of climate change: Lessons for REDD+. Global Environmental Change, Global Environmental Change, 2011(21), 540–549.
Li, T. (2007). The Will to Improve. North Carolina: Duke University Press.
McElwee, P. D. (2016). Forests Are Gold: Trees, People, and Environmental Rule in Vietnam, University of Washington Press.
Timothy, L. W. (1995). On Environmentality: Geo-Power and Eco-Knowledge in the Discourses of Contemporary Environmentalism. Cultural Critique The Politics of Systems and Environments Part II, 1995(31), 57-81.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-23

How to Cite

ฉัตราภรณ์ สุริวรรณ chattrabhorn S. (2019). ปฏิบัติการของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่านกลไกตลาด: โครงการเรดด์พลัสในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านหัวทุ่งอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ PRACTICES OF ECONOMIC MECHANISM IN ENVIRONMENTAL CONSERVATION: REDD+ PROJECT IN BAN HUA THUNGCOMMUNITY FOREST, CHIANG DAO DISTRICT,CHIANG MAI PROVINCE: มาตรการเรดด์พลัสในพื้นที่ป่าชุมชน บ้านหัวทุ่ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 15(1), 46–61. https://doi.org/10.14456/jem.2019.3

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research