นโยบายพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้า กรณีศึกษาโครงการนำร่องพลังงานแสงอาทิตย์ ผลิตไฟฟ้าติดตั้งบนหลังคาอย่างเสรีของผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทครัวเรือน APPROACHING ON SOLAR PV POLICY; PILOT FREE SOLAR PV ROOFTOP PROGRAM OF RESIDENTIAL PROSUMERS CASESTUDY

ผู้แต่ง

  • Nualprakai Lertkirawong นวลประกาย เลิศกิรวงศ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

DOI:

https://doi.org/10.14456/jem.2019.1

คำสำคัญ:

โครงการนำร่องพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าติดตั้งบนหลังคาอย่างเสรี, การจัดทำบริการสาธารณะ, มาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าใช้เอง

บทคัดย่อ

               การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มุ่งศึกษาตามวัตถุประสงค์ 2 ประเด็น คือ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการจัดทำบริการสาธารณะ และเพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาโครงการนำร่องพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าติดตั้งบนหลังคาอย่างเสรี โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากบุคคล 3 กลุ่ม ได้แก่ ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐให้บริการสาธารณะ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เข้าร่วมโครงการนำร่องพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาอย่างเสรี

               จากผลการวิจัยพบว่า โครงการนำร่องพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าติดตั้งบนหลังคาอย่างเสรีมีรูปแบบการจัดทำบริการสาธารณะเป็นการผลิตร่วม ซึ่งมาจากการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเป็นสำคัญ สำหรับการพัฒนาโครงการนำร่องพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าติดตั้งบนหลังคาอย่างเสรีในอนาคต ภาครัฐควรมีการผลักดันให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางของรัฐบาลในการจัดทำบริการสาธารณะ และควรมีการปลดล็อคเงื่อนไขของโครงการนำร่อง เปลี่ยนจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาไว้ใช้ภายในบ้านอย่างเดียว เป็นการผลิตไฟฟ้าไว้ใช้เองและสามารถจำหน่ายได้ ด้วยการสนับสนุนมาตรการจูงใจส่งเสริมให้ประชาชนเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าใช้เองผ่านระบบหักลบกลบหน่วย (Net-Metering) หรือระบบการรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินจากการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Net-Billing) เนื่องมาจากการวิเคราะห์ตามหลักเศรษฐศาสตร์การผลิตไฟฟ้าใช้เองของผู้เข้าร่วมโครงการนำร่อง พบว่า มีปริมาณไฟฟ้าส่วนเกินที่เหลือจากการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์โดยเฉลี่ย 120.3 – 231.1 kWh/เดือน

Author Biography

Nualprakai Lertkirawong นวลประกาย เลิศกิรวงศ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การศึกษา

1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประเทศไทย                                    2553-2557

วิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชา จุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์                                            เกรดเฉลี่ย 3.20

2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย                                                                  2558-ปัจจุบัน

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชา รัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์                     เกรดเฉลี่ย 3.94

References

1.Alternative Energy Development Plan 2015-2036[In Thai]. (2015, September). Retrieved February 23, 2018, from https://www.dede.go.th/download/files/AEDP2015_Final_version.pdf
2.Arnstein, S. (1969). The Ladder of Citizen Participation. Journal of the American Institute of Planners, 35 (4), 216-224.
3.Audomvongseree, K. (2017, November 16). Technical Impact and Trends in Installation Promotion of Thailand’s Solar PV Rooftop Program [In Thai]. Energy Research Institute, Chulalongkorn University.
4.Bovaird, T. (2007). Beyond Engagement and Participation: User and Community Coproduction of Public Service, Public Administration Review, 67(5), 846-860.
5.Denhart, J. and Denhardt, R. (2017). The new public service: Serving, not steering. (3rd ed.). New York, NY: Routledge. (pp.106-116).
6.Energy Statistics of Thailand 2017[In Thai]. (2017). Energy Policy and Planning Office, Ministry of Energy, pp.147-156.
7.Energy Statistics of Thailand 2018[In Thai]. (2018). Energy Policy and Planning Office, Ministry of Energy, pp.148-154.
8.Kiratikara, S., Kitichantaropas, P. and Chenvidhya, D. (2014). Thailand’s Solar Power Production Status Report 2012-2013[In Thai], Department of Alternative Energy
Department and Efficiency, Ministry of Energy.
9.Martin, S. (2009). Engaging with Citizens and Other Stakeholders. In T. Bovaird & E. Loffler (Eds.). Public Management and Governance (2nded.) (pp. 287-325). New York, NY: Routledge.
10.Martin, S. and Boaz, A. (2000). The Modernization and Improvement of Government and Public Service: Public Participation and Citizen-Centred Local Government: Lessons from the Best Value and Better Government for Older People Pilot Programmes. Public Money & Management, 20(2), 47-54.
11.Operating Manual for Connection Request to the Electrical Network System of the Pilot Case of Free Solar PV Rooftop Program. (2016). Electric Power Economy Division,
Department of Energy Economic Policy, Metropolitan Electricity Authority.
12.Pacudan, R. (2018). The Economic of Net Metering Policy in the Philippines. International Energy Journal, 18, 283-296.
13.Renewable Energy Report [In Thai]. (2013). Ministry of Energy. Retrieved September 19, 2018, from https://www.thailandenergyeducation.com/assets/media/A004.pdf
14.Report of National Reform Council. (2015, August 19), 10th Reformation: Energy System [In Thai]. The Secretariat of the House of Representatives, Parliament, Thailand.
15.Siriprakob, P. and Yavaprabas, S. (2017). Government Management Reformation: New Public Management Paradigm in New Zealand. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (pp. 490-491).
16.Siriprussmee, P. (2018, June 6). Policy Related Issues for the Promotion of Rooftop PV. Engineering and R&D Regulatory Department, Office of the Energy Regulatory
Commission (OERC).
17.Thailand Power Development Plan 2015-2036[In Thai]. (2015, June 30). Retrieved February 23, 2018, from https://www.eppo.go.th/images/POLICY/PDF/PDP_TH.pdf
18.Tongsopit, S., Junlakarn, S., Chaitusaney, S. and Wibulpolprasert, W. (2017, September 4). Analytical Study Project the Pilot Case of Free Solar PV Rooftop Program: Policy Suggestions and Analysis Results from the Research Project [In Thai]. Energy Research Institute, Chulalongkorn University.
19.Winkler, J. and Ragawitz, M. (2016). Solar energy policy in the EU and the Member States, from the perspective of the petitions received. Policy Department C: Citizens'
Rights and Constitutional Affairs European Parliament, Brussels.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-23

How to Cite

นวลประกาย เลิศกิรวงศ์ N. L. (2019). นโยบายพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้า กรณีศึกษาโครงการนำร่องพลังงานแสงอาทิตย์ ผลิตไฟฟ้าติดตั้งบนหลังคาอย่างเสรีของผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทครัวเรือน APPROACHING ON SOLAR PV POLICY; PILOT FREE SOLAR PV ROOFTOP PROGRAM OF RESIDENTIAL PROSUMERS CASESTUDY. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน, 15(1), 4–27. https://doi.org/10.14456/jem.2019.1

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research