ถอดบทเรียนการจัดการน้ำด้วยฝายมีชีวิต บ้านนาโหนด ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช LESSON LEARNED OF WATER MANAGEMENT BY LIFE DAM AT BAN NA NOT VILLAGE KAMPANG SAO SUB-DISTRICT MUANG DISTRICT, NAKHON SI THAMMARAT PROVINCE

ผู้แต่ง

  • Rattana Krainara รัตนา ไกรนรา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

DOI:

https://doi.org/10.14456/jem.2019.2

คำสำคัญ:

ถอดบทเรียน การจัดการน้ำ ฝายมีชีวิต นครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

ถอดบทเรียนการจัดการน้ำด้วยฝายมีชีวิต บ้านนาโหนด ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชนที่นำไปสู่การจัดการน้ำด้วยฝายมีชีวิต และถอดบทเรียนการจัดการน้ำด้วยฝายมีชีวิตบนพื้นฐานสภาพภูมิศาสตร์ ธรรมชาติ และวัฒนธรรมชุมชน การวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม  ผลการวิจัยพบว่าชุมชนบ้านนาโหนด  มีการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตยังชีพเป็นการผลิตเชิงพาณิชย์ส่งผลต่อการจัดการน้ำภาคเกษตรประกอบกับการจัดการน้ำภาครัฐไม่สามารถเข้าถึงชุมชนได้  ชุมชนจึงแสวงหาแนวทางการจัดการน้ำแบบพึ่งพาตนเอง โดยร่วมกันศึกษาปัญหาและการค้นหาคำตอบจนพัฒนาการกลายเป็นฝายมีชีวิต โดยฝายมีชีวิตเป็นการสร้างความรู้ใหม่บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งนี้การประยุกต์ใช้แนวคิดฝายมีชีวิตภายใต้บริบทที่มีต่างภูมินิเวศชุมชนจำเป็นต้องศึกษาระบบน้ำ แผนผังน้ำ วิถีน้ำของชุมชน และทรัพยากรชุมชน สำหรับฝายมีชีวิตมีคุณค่าและบทบาทในมิติสิ่งแวดล้อม ชุมชน และการต่อรองอำนาจรัฐโดยการพึ่งพาตนเอง

References

Khunweechuay, M. (2016). The History of a Struggle for access to Kao–Na–Lae Resources [In Thai]. Journal of Humanities and Social Sciences, Thaksin University, 10(2), 107-125.
Lertvicha, P., Methin,S. & Namthep, N. Muang Fai : Water Management, Human Management Based on Geography and Culture [In Thai]. (2009). Chiang Mai : Tarnpanya.
Sattayanurak, A. (2014). Changes in Power relation in Local Northern Thailand resource management [In Thai]. Parichart Journal, Thaksin University, 27(1), 10-25.
Sompo, S. (2011). Local knowledge management and learning network on water resource management of Muang Fai system by water user groups at Fai Wang Hai, Chiang Doa Sub-district, Chiang Doa District, Chiang Mai Province [In Thai]. Master of Arts (Man and Environment Management) Chiang Mai University.
Songsiri, W. (2013). Cultural ecology in changes [In Thai]. Bangkok : Lek-Prapai Viriyahpant Foundation.
Sukkorn, K. (2014). Local Knowledge of Check Dam : A Case Study of Ban-Kiewthaklang –Thatai
of Maetha District in Lampang province [In Thai]. SDU Research Journal Humanities and Social Sciences, 10(1), 255-268.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-23

How to Cite

รัตนา ไกรนรา R. K. (2019). ถอดบทเรียนการจัดการน้ำด้วยฝายมีชีวิต บ้านนาโหนด ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช LESSON LEARNED OF WATER MANAGEMENT BY LIFE DAM AT BAN NA NOT VILLAGE KAMPANG SAO SUB-DISTRICT MUANG DISTRICT, NAKHON SI THAMMARAT PROVINCE. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน, 15(1), 28–45. https://doi.org/10.14456/jem.2019.2

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research