รูปแบบการบริหารจัดการป่าชุมชนเพื่อรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ในเขตเทศบาลตำบลปะคำ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ COMMUNITY FORESTS ADMINISTRATION AND MANAGEMENT MODEL FOR PRESERVING THE ECOSYSTEM AND ENVIRONMENT IN NATIONAL RESERVED FOREST IN PA-KHAM SUBDISTRICT MUNICIPALITY, PA-KHAM DISTRICT, BURIRAM PROVINCE
DOI:
https://doi.org/10.14456/jem.2018.10คำสำคัญ:
การบริหารจัดการป่าชมุชน, การมีส่วนร่วม, ป่าชุมชนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาบริบทและการมีส่วนร่วมจัดการป่าของชุมชน 2) สำรวจลักษณะทางกายภาพและชีวภาพ และ 3) หารูปแบบบริหารจัดการป่าแบบมีส่วนร่วม มีพื้นที่ศึกษา คือ ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าโคกใหญ่ ป่าหนองหมี ป่าหนองพระสรวล ที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลปะคำ โดยศึกษาจากข้อมูลจากเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบบสัมภาษณ์เชิงลึก จะใช้การประชุมระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสำรวจบริบทและข้อมูลป่าด้วยเครื่องมือทางภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ
ผลการวิจัยพบว่า ป่าพื้นที่ศึกษามีเนี้อที่ รวม 6.78 ตารางกิโลเมตร มีความสูงจากพื้นที่รอบ ๆ และลาดเอียงลงไปด้านทิศตะวันออก และตะวันตก เป็นต้นกำเนิดลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูล คือ ลำนางรอง และลำน้ำมาศ ในพื้นที่ป่ามีการสร้างแนวถนนกันไฟ และพบพื้นทีป่าที่ถูกบุกรุกโดยชาวบ้าน เพื่อทำการเกษตร จากการประชุมโดยมีคณะกรรมป่าชุมชน ผู้นำชุมชน พระสงฆ์ และชาวบ้าน พบว่า มีความต้องการ การจัดทำแผนที่ขอบเขตป่าให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการบุกบุก การหาแนวทางเฝ้าระวังการตัดไม้ทำลายป่า การจัดทำแนวป้องกันไฟ และการจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรของป่าชุมชน และยังพบว่า มี พระสงฆ์ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าปะคำธรรมสามัคคี เป็นแกนนำในการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าไม้
References
Journal, 25(2), 6-13.
2. Boonyiam, P. & Mahakhan, P. (2015). Pakham: The Way of Life and Existence of Elephant Herders
under Dynamic of Change in Social and Cultural [in Thai]. Academic Journal for the
Humanities and Social Sciences burapha university, 23(41), 91 – 111.
3. Google Map. (2018). Pakam sub-district, Pakam district, Buriram. Retrieved March 15, 2018, from
https://www.google.com/maps/place/Pakham+District,+Buri+Ram/@14.397477,102.60
26509,26106m/data=!3m2!1e3!4b1!4m5!3m4!1s0x311bc928b0c93a29:0x30469cfc8d
e5c90!8m2!3d14.386538!4d102.644587
4. Information Technology Center, RFD. (2016). Database of Forest in Thailand [in Thai]. Retrieved
from November 15, 2018, from https://forestinfo.forest.go.th/fCom_detail.aspx?id=11318
5. Kumsap, K. (2015). Sustainable Community Forest Management in Local Development A case
study Ban Don Moo Community Forest, Ubon Ratchathani Province [in Thai]. Rajabhat
Agricultural Journal, 14(1), 31-36.
6. Land Development Department. (2018). Orthophoto in Buriram Province.
7. Poungngamchuen, J., Supa-udomlerk, T.S., & Rungkawat, N. (2013). Participatory Development of
the People in Community Forest Management Model: A Case Study of Baan Tha Pha Pao,
Tha Pra Duk Sub-district, Maetha District, Lampun Province [in Thai]. KMUTT Research
and Development Journal, 36(2), 215-234.
8. Saengchan, P., Pengpae, S., & Mirasing, V. (2014). A Model of Sustainable Management Natural
Resource by Community: A Case Study of Khaoraoteanthong [in Thai]. Journal of Chandrakasemsarn,
39(20), 19-28.
9. Sritanatorn, P. (2010). Sustainable community forest management in local development: Community
practice, people participation, and the success of forest conservation of Huay-Mae-
Hin community forest, Ngao district, Lampang province [in Thai]. Journal of Forest
Management (Thailand), 4(8), 74-91.