การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตภัณฑ์ข้าวแคบเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของตำบลหัวเสือ จังหวัดลำปาง: บทเรียนจากชุมชน

Main Article Content

พงศ์วัชร ฟองกันทา
ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก
สุวรรณี เครือพึ่ง
ธิดารัตน์ ผมงาม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ผลิตภัณฑ์ข้าวแคบชุมชนหัวเสือ 2) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการจัดการความรู้ของชุมชนเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ3) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการความรู้ของชุมชนเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านที่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ข้าวแคบ ผู้นำชุมชนและคนในชุมชนหัวเสือ และครูสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลหัวเสือ จำนวนทั้งหมด 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแนวทางการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบองค์ความรู้และกระบวนการจัดการความรู้ผลิตภัณฑ์ข้าวแคบของชุมชนเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตจากชุมชุน และแนวทางการจัดการความรู้ของชุมชนที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพประกอบด้วยกระบวนการของการแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การเก็บและรวบรวมความรู้ การถ่ายทอดความรู้และการเผยแพร่ความรู้ 

Article Details

How to Cite
[1]
ฟองกันทา พ., บัวกนก ฟ.ฌ., เครือพึ่ง ส. และ ผมงาม ธ. 2023. การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตภัณฑ์ข้าวแคบเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของตำบลหัวเสือ จังหวัดลำปาง: บทเรียนจากชุมชน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 12, 1 (ธ.ค. 2023), 21–29.
บท
บทความวิจัย

References

Chalayonnavin, A. 2017. The role of popular wisdom for community development after disaster in order to ASEAN community preparedness: Mae Sai, Chiang Rai province. National Defence Studies Institute Journal8(3): 30-41. (in Thai)

Charoenkul, N. 2009. Knowledge management-KM. Journal of Education 21(1): 12-26. (in Thai)

Jaisuwan, K., S. Panya, S. Mahawan, N. Sittichoktanarak, W. Weerakaew and A. Samakpongphun. 2021. Model of knowledge management for Karen woven fabrics, Pamorlor village, Ban Kat subdistrict, MaeSariang district, Mae Hong Son province. Journal of Community Development and Life Quality 9(1): 27-38. (in Thai)

Maquardt, M. 1996. Building the learning organization: Master the 5 elements for corporate learning.Palo Alto:Davies-Black. Office of the National Economic and Social Development Council. (2022). The Thirteenth National Economic and Social Development Plan (2023-2027). (Online). Available: https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_Final.pdf (November 24, 2022) (in Thai)

Rastogi, P. N. 2000. Knowledge management and intellectual capital the new virtuous reality of competitiveness. Human Systems Management 19(1): 39-49.

Teerathanachaiyakun, K. 2014. Knowledge management success factor. Panyapiwat Journal 5(Special issue): 134-144. (in Thai)

Tiacharoen, S., M. Wangthanomsak, S. Onsampant, S. Tonwimonrat, V. Suksodkew, N. Rattanasiraprapha and S. Inrak. 2017. The model of knowledge management for local wisdom in school towards creative economic development and sustainable community. Veridian E-Journal Silpakorn University (Humamities, Social Science and Arts) (10)3: 1371-1392. (in Thai)

Zangphukieo, N. 2020. Guidelines for conveying local wisdom of the elderly society: A case study of Sangsuk School–the Elderly, Ban Tio sub-district, Lom Sak district, Phetchabun province, NEUAcademic and Research Journal 10(2): 55-67. (in Thai)