การสำรวจผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากไม้ไผ่ของชุมชนหัตถกรรมจักสาน ในพื้นที่จังหวัดยโสธร
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประเด็นวิจัยในครั้งนี้ได้จากการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัดยโสธรแล้วพบว่างานจักสานไม้ไผ่ของจังหวัดยโสธรประสบปัญหาเบื้องต้นด้านกำลังการผลิตที่มีอยู่น้อยและขาดการจัดการองค์ความรู้และสืบทอดภูมิปัญญาอย่างเป็นระบบ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจข้อมูลเครื่องจักสานไม้ไผ่ของชุมชนหัตถกรรมจักสานในพื้นที่จังหวัดยโสธร และค้นหาแนวทางการพัฒนาเครื่องจักสานไม้ไผ่สู่ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ด้วยกระบวนการค้นหา ตีความเรื่องราวใหม่ให้ผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ร่วมสมัย ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มุ่งให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน เพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ กลุ่มเป้าหมายเป็นช่างจักสานไม้ไผ่ จำนวน 20 คน ผลการวิจัย ได้ฐานข้อมูลช่างจักสานไม้ไผ่ ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ หลักสูตร และการทดลองจัดการเรียนการสอน ยังมีแหล่งเรียนรู้ด้านจักสานไม้ไผ่ ในชุมชน คือ พิพิธภัณฑ์เครื่องจักสานคนลุ่มน้ำฟ้าห่วน วัดฟ้าห่วนใต้ ตำบลฟ้าห่วน อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
Bureekhampun, S. and K. Attabhanyo. 2019. A study of factors and local handicraft wisdom of bamboo wickerwork for product design. Journal of Industrial Education 18(1): 100-108. (in Thai)
Chantanapelin, S., A. Jaisaleaow and K.Anorat. 2023. Marketing strategies for promoting organic community products: A case study of Agricultural Product Management Learning Center (Farmer's Market) in Chiang Rai province. Journal of Community Development and Life Quality 11(2): 123-134. (in Thai)
Manowang, J., W. Sepha and K. Plasila. 2022.A Study and upgrading of products by local wisdom in Mae Pao district, Phaya Mengrai district, Chiang Rai province. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University 16(1): 162-175. (in Thai)
Niamhom, K. and O. Niamhom. 2021. A development of bamboo sticks to increase productivity for the community in Bun-tharik district, Ubon Ratchathani. Science Technology and Innovation Journal 2(5): 19-27. (in Thai)
Saima, W. 2021. A study of original patterns of bamboo basketry development for decorative purposes: A case study of the elderly cooperative group in Kiu Lae Pa Pao village, Mae Wang district, Chiang Mai. Research and Development. Journal Suan Sunandha Rajabhat University 13(2): 119-133. (in Thai)
Sikeawmee, N. 2022. The development of wicker handicrafts bamboo furniture from folk wisdom in Prachinburi province. Journal of Research and Development, Buriram Rajabhat University 17(2): 77-88. (in Thai)
Sikka, S., P. Sikka and T. Chiarakul. 2015. Development of bamboo handicraft in Isaan. Art and Architecture Journal, Naresuan University 6(1): 110-120. (in Thai)
Soithong, P. 2022. The home decorated Product design by household bamboo wicker product structure concept. Case study of Bang Chao Cha, Pho Thong district, Ang Thong province. Journal of Fine Arts Research and Applied Arts 9(2): 141-159. (in Thai)
Sutakcom, O. and T. Somfong. 2020. Product development innovative weaving with a unique community Bann Pa Ngaew weaving group, Tha Nuea, Mae On district, Chiang Mai. Journal of Innovative Technology Research 4(2): 22-38. (in Thai)
Thaennonngiw, A. and F. Palinthorn. 2023. The development guidelines for community enterprise efficiency of Silk Weaving Cooperative Group in Ban Hua Fai, Po Daeng subdistrict, Chonnabot district, Khon Kaen province. Journal of Community
Development and Life Quality 11(1): 1-10. (in Thai)